วิธีดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงในทุกช่วงเวลาของชีวิต


แม้การรักษาจะก้าวหน้าขึ้นและการเข้าถึงเทคโนโลยีจะทันสมัย แต่ภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ทั่วโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 17.9 ล้านคนในแต่ละปี นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในสหรัฐอเมริกามานานกว่า 50 ปี

ทางด้านผู้เชี่ยวชาญ Kent Bradley, MD, MPH, MBA หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพและโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ จึงได้ออกมาเผยถึงวิธีการควบคุมนิสัยและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่จะช่วยปกป้องสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงในทุกวัยไว้ ดังนี้

รู้ทันความเสี่ยงของตัวเอง

ขั้นตอนแรกในการรักษาสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงคือการรู้ว่าตัวเองมีสภาพหัวใจเป็นอย่างไร ด้วยการไปพบแพทย์เป็นประจำทุกปีเพื่อประเมินสุขภาพ ถึงแม้ว่าปัจจัยทางพันธุกรรมจะมีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ แต่ตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อมและตัวแปรอื่นก็เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อโรคพอกับพันธุกรรม

ความดันโลหิตสูงนับว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับต้นของโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งความดันโลหิตสูงมักไม่ค่อยแสดงอาการหรือมีสัญญาณเตือน ดังนั้น จึงควรการหมั่นตรวจความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้

เลิกนิสัยที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

การสูบบุหรี่ถือเป็นนิสัยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจมากที่สุด เนื่องจากบุหรี่จะทำลายเยื่อบุหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดการสะสมของไขมันที่เรียกว่าไขมันในหลอดเลือด และส่งผลให้หลอดเลือดแดงแคบลง ซึ่งบางคนอาจมีอาการเจ็บหน้าอกเพื่อเป็นการเตือนถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และยังมีอีกหลายคนที่กว่าจะพบว่าตัวเองเป็นหลอดเลือดแดงตีบ ก็ต่อเมื่อมีอาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองแล้ว ดังนั้น ทางที่ดีจึงควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

ขยับบ่อย ๆ ให้หัวใจสูบฉีด

ไลฟ์สไตล์แบบนั่งอยู่ติดที่เป็นประจำกำลังเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก จากข้อมูลของ CDC พบว่าชาวอเมริกันมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ แทบไม่ได้ทำกิจกรรมตามคำแนะนำที่ร่างกายต้องการ ซึ่งผลการศึกษาล่าสุด ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มเหล่านี้เกิดจากการไม่มีพื้นที่กลางแจ้งสำหรับออกกำลังกาย รวมทั้งพฤติกรรมที่จำเป็นต้องอยู่ติดกับที่เพิ่มขึ้น เช่น การนั่งทำงานในออฟฟิศ การนั่งดูโทรทัศน์ สตรีมมิ่ง หรือดูวิดีโอบนอุปกรณ์ และควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีในทุกวัน หลีกเลี่ยงการนั่งติดอยู่กับที่ตลอดทั้งวัน สามารถทำได้โดยการเดินเล่นในสวนสาธารณะช่วงพักกลางวัน ซึ่งอาจทำให้ได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานมากขึ้น รวมทั้งการเลือกจอดรถให้ห่างจากออฟฟิศ การขึ้นบันได หรือการลุกขึ้นมายืนเป็นครั้งคราว เป็นต้น

และเมื่ออายุมากขึ้น การออกกำลังกายแบบเน้นส่วนต่าง ๆ ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้เช่นกัน เพราะการออกกำลังกายเฉพาะที่ คือการเคลื่อนไหวแบบมีจุดประสงค์เพื่อให้ทำกิจกรรมในแต่ละวันได้ดีขึ้น เช่น การเดิน การก้มตัว หรือนั่งยอง ๆ เพื่อหยิบของขึ้นมา หรือดันตัวเองออกจากพื้น

กินให้ดีและรู้จักเลือกรับประทานอาหารเสริม

การบริโภคผลไม้ ผัก โปรตีนไร้ไขมัน และธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นช่องทางหนึ่งในการรับวิตามินและแร่ธาตุเพื่อบำรุงสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง เพราะผักและผลไม้สดให้ไฟเบอร์ที่สำคัญ ส่วนไขมันดีในอาหาร เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และทูน่า เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท เมล็ดฟักทอง และถั่วเหลือง ยังอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ รวมทั้งยังช่วยบำรุงระบบหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรง โดยการลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์

นอกจากนี้ อาหารเสริมยังมีส่วนช่วยปกป้องสุขภาพหัวใจได้ โดยการเติมเต็มและทดแทนช่องว่างทางโภชนาการที่ขาดหายไปในมื้ออาหาร จากการศึกษาที่ตีพิมพ์โดย American College of Cardiology แสดงให้เห็นว่า โอเมก้า 3 กรดโฟลิก และโคเอนไซม์คิว 10 เป็นหนึ่งในสารอาหารที่สามารถใช้เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจได้

ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต

แม้ว่าจะไม่มีความเชื่อมโยงโดยตรงที่ชัดเจนระหว่างความเครียดกับการเกิดโรคหัวใจ แต่ความเครียดอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงทางอ้อมต่อสุขภาพหัวใจได้ เช่น ความดันโลหิตสูง การรับประทานอาหารมากเกินไป หรือการออกกำลังกายที่น้อยลง รวมทั้งความเครียดในระยะยาวยังส่งผลให้ระดับฮอร์โมนความเครียดอย่างอะดรีนาลีนและคอร์ติซอลเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย

ในท้ายที่สุดแล้ว การใช้ชีวิตอย่างแอคทีฟและมีสุขภาพดีจะสามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ในระยะยาว ซึ่งตอนนี้ถือเป็นเวลาดีในการเริ่มต้นนำเคล็ดลับดี ๆ เหล่านี้ไปใช้จริงในชีวิตประจำวันอย่างน้อยหนึ่งข้อ เพื่อให้หัวใจของคุณเต้นแรงตั้งแต่วันนี้และต่อไปในอนาคต

ความลับของรอยยิ้ม ความสดใส แต่ภายในใจอาจซ่อนความเศร้า

ในสังคมปัจจุบัน ผู้คนมักเผชิญความกดดันและความเครียดมากมายเช่น ปัญหาเศรษฐกิจ การทำงาน ทำให้หลายคนจึงเลือกสวมหน้ากากปกปิดอารมณ์ที่แท้จริง หนึ่งในหน้ากากที่พบได้บ่อยคือ “รอยยิ้ม” ที่แฝงไว้ด้วยความเศร้า หรือที่เรียกว่า “Smiling Depression”

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH- Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า Smiling depression คือคนที่ซึมเศร้า แต่จะแสดงออกภายนอกว่าร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส ใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ภายในจิตใจกลับรู้สึกเศร้าโศก หดหู่ ไร้ความสุข สิ้นหวัง คล้ายกับโรคซึมเศร้าทั่วไป แต่สามารถเก็บซ่อนความรู้สึกไว้ได้อย่างแนบเนียน ซึ่งจะพบได้บ่อยในผู้ที่รู้สึกว่าตัวเองต้องแสดงออกให้คนอื่นเห็นแต่ด้านที่ดีของตัวเองเท่านั้น กลัวว่าคนรอบข้างจะมองว่าตัวเองอ่อนแอหรือเป็นภาระ

สาเหตุของภาวะ Smiling depression

ผู้ที่ยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ หรือ Perfectionist เมื่อประสบปัญหา คนกลุ่มนี้จึงเลือกที่จะแสดงออกว่ามีความเข้มแข็งมากกว่าไม่ต้องการรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระของผู้อื่น ไม่ต้องการให้ผู้อื่นต้องเป็นห่วงตัวเอง และบางครั้งยังต้องรับฟังปัญหาของผู้อื่นอีกด้วยมีความรับผิดชอบสูง ทั้งในหน้าที่การงาน ครอบครัว หรือกับสังคมรอบตัว จึงเลือกที่จะไม่แสดงออกความรู้สึกของตนเอง ที่จะกระทบผู้คนรอบข้างสัญญาณภาวะ Smiling depression

  • ยิ้ม แต่สายตาดูไม่สดใส
  • ดำเนินชีวิตได้ปกติแต่ข้างในรู้สึกเศร้า
  • เป็นที่ปรึกษาได้ทุกเรื่อง ทุกคนคอยเข้าหาแต่ไม่ค่อยพูดเรื่องของตัวเอง
  • ไม่อยากให้ตัวเองเป็นภาระ
  • ไม่อยากรู้สึกว่าตัวเองไม่สมบูรณ์แบบ หรือรู้สึกอ่อนแอ
  • คาดหวังให้คนอื่นมีความสุขส่วนตัวเองเก็บความรู้สึกไว้
  • นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
  • รู้สึกตัวเองไร้ค่า สิ้นหวัง รู้สึกผิด หรือแม้กระทั่งมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่
  • ไม่อยากทำอะไร อ่อนเพลีย หรือรู้สึกไม่สนใจ เพลินเพลิดกับกิจกรรมที่เคยชอบทำ

การรักษาภาวะ Smiling depression ประกอบไปด้วยการใช้ยาต้านซึมเศร้าและการบำบัดทางจิต การใช้ยาต้านเศร้า จะออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมกลับของสารสื่อประสาทบางชนิดในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน และสารนอร์เอพิเนฟริน ยาต้านซึมเศร้ามักใช้ร่วมกับการให้คำปรึกษาและบำบัดทางจิต ระยะเวลาในการรักษาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH-Bangkok Mental Health Hospital