ตั้งสติก่อนซื้อ! ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “อย.”

อย. คืออะไร?

อย. คือ อักษรย่อของ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration) ซึ่งมีหน้าที่ในการดําเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง ฉะนั้นเครื่องหมาย อย. จึงเป็นดั่งสิ่งที่แสดงให้ผู้บริโภครับทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้ผ่านการพิจารณาด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว

สัญลักษณ์ที่แสดงว่าผ่านการอนุญาต หรือจดแจ้งกับ อย. แล้ว

1. สัญลักษณ์สารบบอาหาร สัญลักษณ์ อย. ที่เราเห็นกันบ่อยๆ แบบนี้จะมีในผลิตภัณฑ์อาหาร รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ซึ่งจะต้องมีตัวเลข 13 หลัก

2. สัญลักษณ์ทะเบียนยา พบในผลิตภัณฑ์ยา ทั้งยาแผนปัจจุบัน ยาแผนไทย หรือยาแผนโบราณ ก็จะมีเลขทะเบียนตำรับยาแสดงบสัญลักษณ์ที่แสดงว่าผ่านการอนุญาต หรือจดแจ้งกับ อย. แล้วนฉลากเสมอ โดยจะมีลักษณะเป็น “ทะเบียนยาเลขที่ G XX/XX” *ตัวอักษร A-N มีความหมายตามตารางข้างล่าง ส่วนตัวเลขด้านหลังจะหมายถึงเลขที่ขึ้นทะเบียนยา / ปี พ.ศ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนยา

ยาแผนปัจจุบัน

ยาแผนโบราณ

A คือ ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ

B คือ ยามนุษย์แบ่งบรรจุ

C คือ ยามนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ

D คือ ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ

E คือ ยาสัตว์แบ่งบรรจุ

F คือ ยาสัตว์นำหรือสั่งเข้าฯ

G คือ ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ

H คือ ยามนุษย์แบ่งบรรจุ

K คือ ยามนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ

L คือ ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ

M คือ ยาสัตว์แบ่งบรรจุ

N คือ ยาสัตว์นำหรือสั่งเข้าฯ

3. สัญลักษณ์เลขที่ใบรับแจ้ง พบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีตัวเลข 10 หลัก หรือ 13 หลัก ตัวอย่างลักษณะตัวเลข “10-X-XXXXXXX” โดย หลักที่ 1 และ 2 หลักแรก จะบ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดที่จังหวัดใด หลักที่ 3 บ่งบอกว่าเป็นสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าหรือผลิตเฉพาะเพื่อการส่งออก หลักที่ 4 และ 5 จะบ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดในปี พ.ศ. ใด หลักที่ 6-10 จะเป็นลำดับของการออกใบรับแจ้งในปี พ.ศ. นั้น

วิธีตรวจสอบเลข อย. จากเว็บไซต์

  • เข้าไปที่เว็บไซต์ porta.fda.moph.go.th
  • กรอกเลข อย. หรือชื่อยี่ห้อสินค้าก็ได้ ลงในช่องสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์ แล้วกดค้นหา
  • จากนั้นข้อมูลจะถูกแสดงขึ้นมาทั้งหมดว่า สินค้านี้จดทะเบียนเป็นประเภทใด ชื่อผู้รับอนุญาตเป็นของบุคคลหรือนิติบุคคลใด รวมถึงมีแสดงสถานะผลิตภัณฑ์ และสถานะสถานที่ผลิตด้วย ซึ่งสถานะคงอยู่หมายถึงสามารถจำหน่ายได้ แต่หากขึ้นสถานะยกเลิก นั่นก็หมายความว่าจะไม่สามารถขายได้

เครื่องหมาย อย. เชื่อได้แค่ไหน?

แม้จะตรวจสอบ อย. และเลขที่ใบรับแจ้งแล้วก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์จะปลอดภัยซะทีเดียว เพราะ อย. เพียงแค่พิจารณาส่วนผสมต่างๆ ว่าปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่ได้มีการวิเคราะห์ตรวจเนื้อครีมหรือเม็ดยาแต่อย่างใด ซึ่งอาจจะมีการผสมสารอันตรายในภายหลังก็ได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ที่จัดจำหน่ายในสถานที่ที่น่าเชื่อถือ เช่น เคาท์เตอร์แบรนด์ตามห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ และดรักสโตร์ขนาดใหญ่ เป็นต้น