ระวังงงง !!!! วิกฤตการเงินวัยกลางคน เลี้ยวผิดชีวิตเปลี่ยน

Midlife-Crisis คือช่วงเวลาเลวร้ายของใครหลายคน เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของผู้ใหญ่ ที่เกิดช่วงอายุ 35-50 ปี  เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจาก วัยผู้ใหญ่เป็นวัยสูงอายุ”  ทุกๆ มิติในชีวิตก็กำลังอยู่ในช่วง “ขาลง” เจออุปสรรคปัญหาทางความคิด ทางจิตใจ และสภาพคล่องทางการเงิน ส่วนใหญ่มักเกิดกับคนที่คิดว่าตัวเองยังไม่ประสบความสำเร็จ แตกต่างจากคนในรุ่น หรือ วัยเดียวกันที่อาจจะไปได้ไกลกว่าทั้งตำแหน่งหน้าที่การงาน  หรือ สภาวะทางการเงิน จะเริ่มหมกหมุ่นกับชีวิตจริงจัง บวกกับความเสื่อมถอยของสุขภาพร่างกายก็ทำให้ ครุ่นคิดกับชีวิตมากขึ้น เกิดภาวะไม่พอใจกับชีวิตที่เป็น จนเป็นเหตุให้ใช้จ่ายอย่างไม่คิดเพื่อเติมเต็มทางความรู้สึก

และนี่คือ วิกฤตที่ถ้าเกิดขึ้นในช่วงวัยนี้ อาจจะกลับตัวมามีฐานการเงินที่มั่งคั่งได้ยาก

สิ่งที่เราต้องคิด หรือ เตรียมตัวก่อนเข้าสู่วิกฤตทางการเงินของวัยกลางคน คือ 

1. ยอมรับกับตัวเองก่อนว่า กฎของธรรมชาติคือ ความไม่แน่นอนความแน่นอน

วัยกลางคน บางคนอาจจะคิดว่าขีวิตตัวเองมั่นคง จนทำให้ชะล่าใจเรื่องการใช้เงิน หรือ วางแผนการเก็บเงิน

2. กล้าที่จะเสี่ยงและนำพาตัวเองออกจากคอมฟอร์ทโซน (Comfort Zone)

ก่อนที่จะเข้าสู่วัยกลางคน  บางคนทำงานอยู่ที่เดิม ภาวะเดิมๆ โดยไม่ได้ย้ายงาน หรือ ได้รับมอบหมายงานที่ทำให้เกิดการพัฒนาทักษะ และในขณะที่มองเห็นเพื่อนคนอื่นๆ ในวัยเดียวกัน ย้ายงานบ่อย ตำแหน่งงานก้าวกระโดด บางครั้งเราต้องคิดถึง เนื้องานที่เราทำอยู่มากกว่าค่าตอบแทนที่ได้ ถ้าเนื้องานไม่ทำให้เกิดทักษะ หรือความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น อาจจะต้องเริ่มพิจารณางานใหม่ หรือ งานเสริม เพื่อเติมอาวุธให้ตัวเองในการสร้างรายได้ที่ต่อเนื่อง และ มั่นคง

3. อย่าหลงใช้จ่ายแบบตกเป็นเหยื่อการตลาด

ที่ทำโฆษณาเพื่อจูงใจ เพราะหลายธุรกิจใช้ภาวะ Midlife-Crisis เพื่อสร้างโปรโมชั่นจูงใจให้คนวัยนี้ตื่นเต้นเช่น แพ็คเกจการท่องเที่ยวแบบผจญภัย สักครั้งต้องไปก่อนตาย และ การสร้างภาพว่าเป็นช่วงวัยที่ต้องประสบความสำเร็จ มีรถหรูขับ จนเกิดการใช้จ่ายที่ไร้สติ และเกินความพอเพียงในชีวิตของแต่ละคน  ชีวิตเราไม่เหมือนใคร ความสุขแบบเรา และ ความสุขแบบคนอื่นใช้เงินไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นคำนวณความสุขในแบบเรา และ พอใจในความเพียงพอที่เราเป็น มากกว่า ยึดติดเอาชีวิตของเราไปเทียบกับคนอื่นมากจนเกินไป

4. วางแผนทางการเงินระยะยาว เพื่อ support วิกฤตที่อาจจะเกิดในอนาคต

บางคนเครียดกับเงินยามเกษียณที่ตัวเองต้องการมี แต่ยังไม่มี เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องเริ่มสำรวจตัวเองว่า เรามีเงินเก็บแอบซ่อนอยู่ในรูปแบบใดบ้าง นับตั้งแต่เริ่มทำงานมา เช่น เงินในสหกรณ์ออมทรัพย์ เงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินบำนาญจากประกันสังคมที่เราต้องได้ หรือ เงิน LTF RMF ที่ซื้อตุนเอาไว้ บวกกับผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อครบกำหนด หรือ เมื่อเราอายุถึงวัยเกษียณ หากยังมีไม่มากพอ กับการใช้จ่ายยามเกษียณ ซึ่งคำนวณตามรายจ่ายของแต่ละคน เทียบง่ายๆ ประมาณ 70% ของค่าใช้จ่ายปัจจุบัน  เราควรวางแผนหาเงินเพิ่มเติม หรือ หาช่องทางให้เงินทำงานได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น

วิกฤตทางการเงินของวัยกลางคนเป็นเรื่องที่น่ากลัวและหาตัวอย่างได้มากมายอย่างเช่นผู้ประกาศข่าวช่อง 7 ชื่อดังที่ออกมายอมรับในวัยใกล้เกษียณว่าตนกำลังใช้เงินเก็บก้อนสุดท้ายที่มีกับชีวิตที่เหลือทั้งๆที่สามารถหาเงินได้มากมายตอนอายุ 30 ปีและหาได้มากกว่าคนวัยเดียวกันหลายเท่าแต่ขาดการวางแผนรับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนรวมทั้งการพัฒนาทักษะอื่นเพื่อสร้างความมั่นคงในปั้นปลายก็อาจจะทำให้เจอวิกฤตโดยไม่คาดคิดได้  วางแผนให้ดีชีวิตเจอวิกฤตวัยไหนก็ไม่กลัวนะคะ