สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราทุกคนมานานแล้ว ทั้งใช้ติดต่อสื่อสารกับผู้ติดต่อ ติดตามข่าวสารบ้านเมือง ตามติดชีวิตประจำวันของเหล่าคนดัง และชอปปิงออนไลน์ นอกจากนี้ ยังเป็นช่องทางที่ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระบนโลกออนไลน์ สามารถใช้แชร์ความสุข ความทุกข์ และประสบการณ์ต่าง ๆ ของตัวเองเพื่อให้คนอื่น ๆ ได้ร่วมรับรู้ หลายคนมองว่ามันเหมือนกับไดอารี่ส่วนตัว ที่จะใช้มันแสดงออกเกี่ยวกับตนเองอย่างไรก็ได้
อย่างไรก็ตาม การมีตัวตนบนโลกออนไลน์ไม่ได้มีแต่เรื่องน่าสนุกเพียงอย่างเดียว การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของตนเองบนพื้นที่ที่เป็นสาธารณะเช่นนั้น บางทีมันก็กลายเป็นปัญหาได้เหมือนกัน พื้นที่ที่คนร้อยพ่อพันแม่สามารถเข้าถึง ทำให้หลายครั้งที่เรื่องส่วนตัวหรือความคิดเห็นส่วนตัวของเราที่แสดงออกบนโลกออนไลน์ไม่สามารถที่จะถูกใจคนทุกคนได้ หรือในบางครั้ง คนเราก็ผิดพลาดจากความไม่รู้ได้เหมือนกัน ที่อาจจะเผลอแชร์ความเป็นส่วนตัวในแบบที่ไม่ถูกไม่ควรไปบ้าง บางทีก็มือไวใจเร็ว โพสต์นั่นโพสต์นี่ตามใจตัวเองโดยไม่ได้คิดไตร่ตรองให้รอบคอบว่ามันจะกระทบถึงใครบ้าง ไม่ได้คิดด้วยซ้ำว่าสิ่งที่โพสต์ไปนั้นอาจจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง
สังคมออนไลน์มันกว้างใหญ่เกินไป
เพราะสังคมออนไลน์ไม่ได้ใจดีกับเราขนาดนั้น บางครั้งแค่เรื่องไม่เป็นเรื่อง แต่เมื่อเจอเข้ากับ “สังคมคนช่างติ” ที่ส่วนใหญ่มักใช้ความรู้สึกของตัวเองในการด่วนตัดสินผู้อื่น มันจึงส่งผลกระทบรุนแรงต่อผู้ที่ถูกสังคมตัดสินอยู่บ่อยครั้ง จนกลายเป็น “จำเลยสังคม” ที่ทำให้ต้องเจอกับบทเรียนราคาแพงอย่างการโดนแบนหรือ Cyberbullying ไปโดยปริยาย ทั้งที่ในบางครั้ง สิ่งที่เราโพสต์หรือแสดงออกผ่านพื้นที่บนโลกออนไลน์มันก็เป็นเพียงเรื่องที่ไม่สามารถจะถูกใจคนทุกคนได้ แต่ในบางครั้ง ก็อาจเป็นตัวเราเองที่ไม่ได้คิดให้ดี ให้รอบคอบ ด้วยไม่คิดว่าเรื่องเล็ก ๆ นั้นจะถูกตัดสินง่าย ๆ จนเราเป็นคนที่เรียกแขกมาหาตัวเอง
ดังนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราเผลอทำอะไรบางอย่างโดยไม่ได้คิดให้รอบคอบบนโลกออนไลน์ก็คือ มันอาจกลายเป็นเรื่องราวดราม่าใหญ่โตจนทำให้เรากลายเป็นคนดังเพียงชั่วข้ามคืน ด้วยเรื่องดราม่าแบบนี้ทำคนอินตามได้ง่าย ทำให้มันถูกเผยแพร่ไปไวยิ่งกว่าไฟลามทุ่ง มาพร้อมกับคณะรถทัวร์ที่แห่แหนกันมาเยี่ยมเยียนหน้าโปรไฟล์ของเรา ขุดและแคปฯ เรื่องราวเกี่ยวกับเราทุกอย่างเท่าที่ทำได้ไปแขวนตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อเรียกแขกมาเพิ่ม แล้วความเกลียดชังในยุคนี้ก็เกิดขึ้นง่ายเสียด้วย เพียงแค่ปลายนิ้วที่คลิกหรือพิมพ์เท่านั้น เราก็อาจตกเป็นเหยื่อการล่าแม่มดออนไลน์
การกลายเป็นตัวเอกของเรื่องดราม่า และการเปลี่ยนหน้าโปรไฟล์ให้กลายเป็นลานจอดรถทัวร์ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้ หากวันหนึ่ง คุณพลาดพลั้งไปสร้างเรื่องดราม่าบนโลกโซเชียลมีเดียเข้า คุณจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีที่จะรับมือเอาไว้บ้าง และเมื่อประเมินสถานการณ์แล้วว่าอนาคตคุณน่าจะอยู่ยาก เพราะโดนบูลลี่ให้อับอาย หรือเกิดความเสียหายขึ้นจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงด้วยถ้อยคำในเชิงลบ โพสต์ด่าทอ ล้อเลียน ใส่ร้าย ขู่ทำร้าย พูดจาส่อเสียด เหยียดเพศสภาพและชาติพันธุ์ หรือถูกประจาน ขอให้ตั้งสติและรับมือตามนี้
เจอดราม่า มีรถทัวร์มาจอด รับมือได้ตามนี้
1. ประเมินสถานการณ์ก่อนว่าร้ายแรงแค่ไหน เป็นเพียงคอมเมนต์ปั่น ก่อกวน หรือยั่วยุเพื่อหาพวก หรือแค่เจตนาทำให้เรารู้สึกไม่ดี เนื่องจากเป็นเพียน การกลั่นแกล้งทางโลกไซเบอร์ (Cyberbullying) ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมหนึ่งของการกลั่นแกล้งทางโลกไซเบอร์ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ถ้าเป็นกรณีนี้ก็ไม่จำเป็นต้องตอบโต้อะไร อยู่นิ่ง ๆ แล้วตัดตัวเองจากโลกออนไลน์ชั่วคราว พึงระลึกว่า “เราไม่สามารถทำให้ทุ
2. ระวังการตอบโต้ด้วยคำพูดอันรุนแรง หากใกล้ถึงจุดนั้น ให้เอาตัวออกจากการตอบโต้ทันที เพราะเมื่อเราก่อดราม่าไปแล้วและมีคนไม่พอใจ จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์รุนแรงส่งถึงคุณโดยตรงทันทีเพราะต้องการให้คุณตอบโต้ และถ้าคุณเผลอไปเล่นตามเกมเมื่อไร การรุมประจานและประณามก็จะกว้างขึ้นเรื่อย ๆ จากสิบเป็นร้อย จากร้อยเป็นพัน จากพันเป็นหมื่น จากหมื่นเป็นแสน และกลายเป็นล้านจนติดเทรนด์ ดังนั้น ถ้าไปเกี่ยวข้องกับดราม่าในโลกโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม จงนิ่งเสีย เงียบให้ได้นานที่สุด ไม่จำเป็นต้องบ่นออกไป ไม่จำเป็นต้องตอบโต้
3. การขอโทษเป็นศิ
4. อยู่นิ่ง ๆ ไปอีกสัก 2 สัปดาห์ เมื่อเข้าสู่ภาวะปกติ สังคมเริ่มยอมรับกับคำอธิบายนั้น หรือมีเรื่องอื่น ๆ เข้ามาจนทำให้คนลืม ก็ขอให้เดินหน้าใช้ชีวิตต่อไป แต่เป็นไปด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องขึ้นซ้ำอี
5. ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของตัวเองให้ได้มากที่สุด เพื่อป้องกันการถูกขุดและนำไปแขวนประณามในเรื่องอื่น ๆ หรือนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการ Cyberbullying
6. ถ้าไม่ชอบคนหยาบคาย คนที่ชอบประณามคนอื่นแบบไม่สร้างสรรค์ บูลลี่ คนที่มีตรรกะแปลก ๆ กับสังคม รวมไปถึงทัศนคติเรื่องการเมืองที่ไม่ตรงกัน วิธีที่ง่ายที่สุด คือ บล็อก ลบ และแบน คนผู้นั้นออกจากโลกโซเชียลมีเดียของคุณ
7. หลังจากที่นิ่ง ออฟไลน์ตัวเองไปแล้ว แต่ถ้ายังมีพวกเกรียนมาประณามแบบเอาสนุก เอาสะใจ ให้เก็บภาพหลักฐานที่ถูกบุคคลนั้นประณามเสียก่อนที่พวกนั้นจะไหวตัวทันแล้วลบออก เมื่อได้หลักฐานสมบูรณ์แล้ว ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลสื่อโซเชียลมีเดียรายนั้น ๆ เพื่อที่จะได้มีการสั่งระงับแอ็กเคานต์
8. รายงานผู้ดูแลเครือข่ายหรือเว็บไซต์ที่คุณใช้งานเพื่อที่จะเข้าถึง User ที่ตามรังควานคุณด้วยคำพูดหยาบคายและรุนแรง
9. หากเรื่องชักบานปลายไปกันใหญ่ ไม่ว่ายังไงก็ดูจะไม่จบง่าย ๆ หรือมีพวกเกรียนมาตามผสมโรงปั่นให้น้ำขุ่นขึ้นมาตลอด ให้ปรึกษาทนายความเพื่อที่จะได้ดำเนินการตามกฎหมาย
10. นำหลักฐานของการถูกกระทำและล่วงละเมิดด้วยวาจา การประณาม หรือแม้กระทั่งการทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงทางโซเชียลมีเดีย แจ้งไปยังโรงเรียน สถานที่ทำงาน และถ้าดูแล้วเหตุการณ์จะไม่จบลงโดยง่ายให้แจ้งตำรวจ
11. คอยดูแลตัวเอง ถ้าสัญญาณของการถูกข่มเหงรังแกด้วยคำพูดที่เลวร้ายผ่านทางโซเชียลมีเดียนั้น ทำให้คุณมีอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่ ถ้ามีขอให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญอย่างเร่งด่วน
12. หากรู้จักผู้ที่เคยผ่านการถูกกระทำทางโซเชียลมีเดียมาแล้ว จะเป็นคนมีภูมิคุ้มกัน จงขอคำแนะนำจากเขา
13. ถ้าคุณมีเพื่อนที่ถูกกระทำจากโลกออนไลน์ จงพาเขาออกมาจากจุดนั้น และแสดงให้เห็นว่าโลกแห่งความจริงนั้นยังมีมิตรแท้ที่คอยช่วยเหลือเขาอยู่
14. ทางแก้สุดท้ายและดูจะดีมากเลยทีเดียว คือเอาโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ไว้ให้ห่างตัวคุณ เพื่อที่จะได้ไม่ตกลงไปในบ่วงของดราม่าได้โดยง่าย ทั้งจากการกระทำที่คิดน้อยของตัวเอง และจากการโดนกลั่นแกล้ง