หลายต่อหลายครั้งที่เรามักได้ยินข่าวคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยอาการหัวใจวาย ที่ครั้งหนึ่งเคยมีความเชื่อกันว่าจะเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุมากเท่านั้น แต่ในปัจจุบันสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป วิถีการกิน การพักผ่อนของคนเมืองเปลี่ยนจากอดีตไปอย่างสิ้นเชิง
ขณะที่หลายคนยกภาระการรักษาให้เป็นของแพทย์ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์นั้นคือ ปลายทางของการรักษาชีวิต เพราะต้นทางการรักษาชีวิตให้อยู่ได้เป็นอย่างดีตามอายุขัยนั้นต้องเริ่มที่ตัวเราเอง
ดังนั้นเรามาทำความรู้จัก เรียนรู้ และป้องกัน รวมไปถึงช่วยเหลือผู้ที่ต้องเผชิญกับโรคหัวใจหรืออาการหัวใจวายเฉียบพลัน ในบรรทัดต่อจากนี้
อาการหัวใจวาย
“หัวใจวาย” หมายถึง หลอดเลือดหัวใจอุดตันโดยสิ้นเชิง จากนั้นกล้ามเนื้อหัวใจจะเริ่มหยุดทำงาน อาการอาจเป็นอยู่นานกว่า 15 นาทีและไม่ทุเลา โดยเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดมาเลี้ยงนั้นจะเริ่มตายภายในไม่กี่นาทีในชั่วโมงแรกที่เกิดอาการเจ็บเค้นหัวใจ
อาการที่แสดงให้เห็นคือ เจ็บ แน่นหน้าอก ร้าวไปที่คอ แขน หรือขากรรไกร จะมีเหงื่อออกอย่างมากจนรู้สึกหนาวบริเวณลำตัวส่วนบน อาจมีอาการวิงเวียน หายใจไม่อิ่ม รวมไปถึงผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงโดยที่ไม่รู้ตัว จะทำให้มีอาการ หัวใจวายได้เช่นกัน
วิธีช่วยเหลือเมื่อพบผู้ที่มีอาการหัวใจวาย
การกู้ชีพแบบที่เรียกว่า CPR CARDIO-PULMONARY RESUSCITATION อันหมายถึงการกระตุ้นหัวใจหรือผายปอดเพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นคืนชีพ นับเป็นการกู้ชีพที่สำคัญมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลา 15 นาทีที่คุณพบผู้มีอาการหัวใจวายคุณมีโอกาสช่วยให้เขารอดได้
เริ่มต้นต้องพยายามให้เคลียร์คนที่มามุงล้อมผู้ป่วยออกไป ตรวจดูว่าผู้ป่วยสามารถหายใจเองได้หรือไม่ ปลดเข็มขัด กระดุมเสื้อเพื่อให้ผู้ป่วยหายอึดอัดมากที่สุด จากนั้น ทำการนวดหัวใจ โดยใช้ฝ่ามือกดลงไปบนกระดูกกลางหน้าอกเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเล็กน้อย เป็นจังหวะ ไม่ต่ำกว่า 100 ครั้งต่อนาที เพื่อเป็นการนวดหัวใจให้ทำงานต่อไปและจะต้องรีบเรียกรถพยาบาลทันทีที่พบผู้ป่วยมีอาการหัวใจวาย
หากมีความเสี่ยงหัวใจวายและอยู่คนเดียวควรทำอย่างไร
หากคุณเป็นคนที่มีความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน อันหมายถึงคุณมีอาการของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง น้ำหนักมาก หรือเคยมีอาการมาก่อนการเรียนรู้ที่จะหาทางรอดเวลา ที่อยู่คนเดียวเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งคำแนะนำแรกหากรู้สึกว่าแน่นหน้าอก และ มีอาการคล้ายกับหัวใจจะวาย ให้เริ่มไอแบบที่เรียกว่า Cough CPR ทันทีโดยหายใจเข้าลึก ๆ ทุกครั้งก่อนการไอ ไอลึกเหมือนมีเสมหะ
การหายใจและการไอต้องทำต่อเนื่องทุก 2 วินาที ไอไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีคนมาช่วยหรือหัวใจมีการเต้นเป็นปกติอีกครั้ง หายใจเข้าลึก ๆ เพื่อให้ออกซิเจนเข้าปอด โดยการเคลื่อนไหวจากการไอจะช่วยบีบหัวใจ ให้มีการไหลเวียนของเลือดเป็นปกติอีกครั้ง การบีบรัดตัวของหัวใจช่วยให้จังหวะการเต้นของหัวใจกลับมา เมื่อพอมีสติกลับมาให้รีบเรียกรถพยาบาลทันที
มีแอสไพรินติดบ้าน เมื่อเริ่มมีอาการยาแอสไพริน ช่วยให้เลือดมีการไหลเวียนที่ดี ไม่เกาะเป็นก้อน ทั้งนี้ทั้งหมดเป็นเพียงคำแนะนำในกรณีที่คุณอยู่คนเดียว แต่ทางที่ดีที่สุด คือพยายามไม่ให้ตนเองตกอยู่ในภาวะเสี่ยงจะดีกว่า
วิธีป้องกันไม่ให้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงหัวใจวาย
อย่างที่เกริ่นในข้างต้น สิ่งสำคัญในการรักษาชีวิตของคุณไม่ใช่เจอหมอเก่ง แต่ต้องเริ่มจากการรักษาร่างกายด้วยการสังเกตความเปลี่ยนแปลงในร่างกายของตนเอง ตรวจร่างกายปีละครั้ง และเหนืออื่นใดคือการมีวิถีชีวิตที่ไม่ยืนอยู่บนความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา พักผ่อนไม่เพียงพอ กินอาหารตามใจปาก ไม่สามารถรักษาน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้
ทั้งนี้การตรวจร่างกายเป็นประจำจะทำให้คุณรู้ได้ว่าร่างกายภายในนั้นมีความเปลี่ยนแปลงตามอายุขัยในเกณฑ์ใด ซึ่งสามค่าสำคัญต้องพยายามรักษาอยู่ในระดับปกติ คือค่าน้ำตาลในเลือดให้ไม่เกิน 150 ความดันโลหิตอยู่ในระดับ 130/80 คอเลสเตอรอล ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม ซึ่งการรักษาระดับน้ำตาล ความดัน ไขมันดังกล่าวสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถึงคุณจะอายุน้อย ออกกำลังอยู่เสมอ แต่ถ้าไม่เคยรู้มาก่อนว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือมีความดันเกิน 130/80 คุณมีโอกาสเสี่ยงหัวใจวายได้ตลอดเวลา