HR หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล นับเป็นกลุ่มคนทำงานหลังบ้านที่สามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับองค์กรได้ จากการเลือกสรรพนักงานเข้ามาร่วมงาน และบริหารจัดการคนที่ความหลากหลายในองค์กร ขณะเดียวกัน ทุกความต้องการที่แตกต่างกันในเรื่องของพื้นที่ทำงาน (Hybrid, WFH) ความยั่งยืนที่ปัจจุบัน
หลายองค์กรให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่อง ESG ที่จะต้องผลักดันให้กลายเป็น Code of conduct ขององค์กร รวมถึงการเก็บรักษาพนักงานกลุ่ม Talents ไว้กับองค์กรให้นานที่สุดแล้ว การให้ความสำคัญกับพนักงานในเรื่องความมั่นคงในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านความมั่นคงในหน้าที่การงาน ความมั่นคงทางการเงิน และความมั่นคงทางสุขภาพ ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
ด้วยความสำคัญดังกล่าว ทางทีเอ็มบีธนชาติได้จัดงาน HR Forum ขึ้นให้กับทีม HR ของบริษัทพันธมิตรที่ใช้บัญชีเงินเดือนของธนาคาร เพื่อเปิดมุมมองใหม่ ๆ ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ได้อัปเดตเทรนด์ความรู้และประสบการณ์ดี ๆ ที่น่าสนใจในการบริหารจัดการพนักงานให้มีความสุขและมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น เพื่อจะได้ส่งผลต่อ Productivity ในการทำงาน ซึ่งรายละเอียดจากงาน HR Forum นั้นได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจ จากผู้เชี่ยวชาญในแวดวง ทรัพยากรบุคคล มาร่วมเสนอแนวคิด และเทรนด์ที่จะบริหารพนักงานในองค์กรซึ่งอยู่ในยุคดิจิทัล
เริ่มจากการที่ HR ควรมีการตั้งเป้าว่าพนักงานในองค์กรควรจะต้องมี Wellness และ Well-being ที่ดีกว่าปีที่ผ่านมา สิ่งสำคัญจะอยู่ที่ความมั่นคงของงาน ความมั่นคงทางการเงิน และการมีสุขภาพกายและใจที่ดี เพราะทั้งสามส่วนหากไม่มีปัญหาใด ๆ จะทำให้พนักงานสามารถโฟกัสเรื่องงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้ผลผลิตของงานเติบโตได้ตามเป้าหมายขององค์กร
- ความมั่นคงของงาน ตำแหน่งหน้าที่การงานที่มีความมั่นคง มีการเติบโต ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่ถูกแทนที่ด้วย AI หากมีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง HR ต้องพร้อมให้การสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพพนักงานเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้
- ความมั่นคงทางการเงิน ใคร ๆ ก็มีหนี้ แต่ถ้ามีสภาพเป็นลูกหนี้ที่ไม่ต้องมีความกังวลกับภาระหนี้ เพราะสามารถจัดการระบบการเงินได้ด้วยโซลูชันต่าง ๆ ที่ทำให้ภาระการจ่ายหนี้ลดลง มีเงินเหลือใช้มากขึ้น ฯลฯ รวมถึงมีความรู้ในการบริหารจัดการด้านการเงินก็จะทำให้เป็นลูกหนี้มีความสุขและยิ้มได้แม้ว่าจะเป็นลูกหนี้ก็ตาม
- การมีสุขภาพกายและใจที่ดี ปัจจุบันองค์กรสมัยใหม่หลายแห่ง ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจพนักงานกันมากขึ้น ไม่เพียงแต่มีสวัสดิการการรักษาพยาบาล แต่ยังมีบริการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจในหลากหลายรูปแบบ อาทิ จัดให้มีบริการนวดสำหรับคนที่มีอาการ Office syndrome หรือบริการนวดผ่อนคลาย จัดให้มีบริการนักจิตวิทยาเข้ามาให้บริการปรึกษาปัญหาต่าง ๆ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายภายในสำนักงาน ฯลฯ
ทั้งนี้ ผู้นำขององค์กร ควรต้องลงไปคลุกคลีกับพนักงาน ไปพูดคุยเพื่อให้รับทราบถึงปัญหาต่าง ๆ และลงมือแก้ไขให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ซึ่งจะเป็นการแสดงให้พนักงานเห็นว่า ผู้นำให้ความใส่ใจกับพนักงานอย่างจริงจัง
นายจักรพันธ์ จารุธีรศานต์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารงานขายและเครือข่ายการขายลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต ได้กล่าวเสริมว่า ธนาคารให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับการบริหารจัดการหนี้ของพนักงานเพราะมองว่าปัญหาใหญ่ของคนทำงานคือภาวะการเป็นหนี้ เพื่อจะช่วยให้พนักงานบริหารจัดการด้านการเงินได้อย่างลงตัว ผ่านโซลูชันต่าง ๆ ของทีเอ็มบีธนชาตที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เพราะคนที่มีหนี้ไม่ควรก่อหนี้เพิ่มแต่ควรลดภาระหนี้ เพื่อให้ชีวิตทางการเงินดีขึ้นได้ทั้งในวันนี้และอนาคต
สำหรับผลิตภัณฑ์ของทีเอ็มบีธนชาตจัดแบ่งหมวดหมู่ได้ 5 กลุ่ม ดังนี้
- ผลิตภัณฑ์ลดภาระหนี้
- ส่งเสริมการลงทุน
- การคุ้มครองอุ่นใจ
- ประกันอุบัติเหตุของบัญชีออลล์ฟรี
- การลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี
การที่ทีเอ็มบีธนชาตให้ความสำคัญกับเรื่อง Employee benefit เพราะตลาดพนักงานเงินเดือนเป็นตลาดใหญ่ คือ มีจำนวนสูงถึง 27 ล้านคนโดยประมาณ เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่ช่วยสร้าง Consumption ในประเทศ ธนาคารจึงมีเจตนารมณ์ที่อยากให้คนกลุ่มนี้มี Financial Well-being ที่ดี เพราะนอกจากจะช่วยเรื่องการพัฒนาประเทศแล้วยังช่วยให้ธนาคารสามารถเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน
เมื่อโฟกัสที่กลุ่มพนักงานเงินเดือนก็ได้พบว่า ปัญหาใหญ่อันดับ 1 คือ เรื่องหนี้ ที่ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนของไทยสูงถึง 500,000 บาท/ครัวเรือน เพราะมีการซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มมากขึ้น ทั้งบ้านและรถ และปัจจัยที่สอง คือ รายได้โตไม่ทันรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากสภาพเงินเฟ้อ โดยสัดส่วนหนี้พบว่า 78% เป็นหนี้ในระบบ ที่น่ากังวล คือ 22% ที่เหลือเป็นหนี้นอกระบบ
Price Waterhouse ได้สำรวจพบว่า พนักงานที่มีหนี้สินจะรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า บางคนพยายามมองหางานใหม่เพราะหวังว่าจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น บางคนเกิดอาการท้อแท้ ไม่อยากมาทำงาน และคนที่มีปัญหาเรื่องหนี้สินทุกคน ยอมรับว่าภาระหนี้สินส่งผลกระทบต่อการทำงานให้กับองค์กร จึงเป็นหน้าที่ขององค์กรที่จะต้องช่วยให้พนักงานมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น เพื่อให้การทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทีเอ็มบีธนชาตมีความเข้าใจถึงปัญหาที่พนักงานในองค์กรต้องพบเจอ จึงได้ตั้งหน่วยงานขึ้นมาโฟกัสในเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยมีภารกิจสำคัญคือการนำโซลูชันทางการเงินที่มีอยู่มาช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับพนักงานบัญชีเงินเดือนทีทีบี
เครื่องมือทางการเงินชิ้นแรกที่หลายคนมักจะมองข้าม คือ บัญชีทีทีบี ออลล์ฟรี ที่ไม่ได้ฟรีแค่เพียงค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม แต่มีฟีเจอร์เรื่องของความคุ้มครองที่เพิ่มขึ้น คือ หากคงเงินไว้ในบัญชี 5,000 บาท ก็จะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ ครั้งละ 3,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง รวมถึงได้รับความคุ้มครองชีวิต 20 เท่าของเงินฝาก สูงสุด 3 ล้านบาท กรณีเสียชีวิต
การลดภาระหนี้ คือ การลดดอกเบี้ย เพราะเมื่อดอกเบี้ยลดลง ก็จะทำให้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายต่องวดลดน้อยลง หรือหากจ่ายเท่าเดิม ก็จะไปตัดยอดเงินต้นได้มากขึ้น ซึ่งทีเอ็มบีธนชาตมีสินเชื่อสวัสดิการอเนกประสงค์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือในเรื่องของการลดภาระหนี้สำหรับพนักงานบัญชีเงินเดือนทีทีบี เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เริ่มต้นเพียง 7.99% ต่อปี สามารถรับวงเงินสินเชื่อสูงสุดถึง 5 เท่าของเงินเดือนโดยไม่ต้องมีคนค้ำประกัน
นอกจากนี้ ทีเอ็มบีธนชาตยังมีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ มอบให้พนักงานบัญชีเงินเดือนทีทีบีอีกหลายรายการ อาทิ ส่วนลดดอกเบี้ยสินเชื่ออื่น ๆ ที่จะช่วยลดภาระหนี้ให้กับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ ที่ดอกเบี้ยถูกกว่าลูกค้าทั่วไป 0.10% ต่อปี สินเชื่อบ้านแลกเงินเคลียร์หนี้ อัตราดอกเบี้ยถูกกว่าลูกค้าทั่วไป 0.77% ต่อปี
ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ของบัญชีเงินเดือนทีทีบีเป็นสิทธิประโยชน์ที่เอื้อสิ่งดี ๆ ให้กับพนักงานองค์กร และตอบโจทย์ในหลาย ๆ เรื่อง ที่จะทำให้พนักงานบัญชีเงินเดือน สามารถจัดการภาระหนี้ และมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นได้ นอกจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์แล้ว ทีเอ็มบีธนชาตยังมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวกับพนักงานบัญชีเงินเดือน ผ่านทาง HR ขององค์กร