ความเหมาะสมของนางแบบอายุน้อย กับประเด็น Sexualization

เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดประเด็นวิพากษ์วิจารณ์สนั่นโลกออนไลน์เกาหลี เมื่อแบรนด์ไอศกรีมยี่ห้อหนึ่งจัดทำสื่อโฆษณาแบบวิดีโอ 30 วิ โดยใช้นักแสดงเป็น เอลล่า กรอสส์ นางแบบเด็กลูกครึ่งอเมริกัน – เกาหลีใต้อายุ 11 ปีมาถ่ายทอดเรื่องราว และกลายเป็นดราม่าแทบจะทันทีหลังโฆษณาชิ้นนี้ถูกปล่อยออกมา

ความเห็นของผู้วิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่เป็นไปในประเด็นไม่เห็นด้วยกับโฆษณาชิ้นนี้เพราะเต็มไปด้วยนัยยะแอบแฝงการยั่วยุทางเพศและโชว์ความเซ็กซี่เกินวัยของนางแบบวัย 11 ปีคนนี้ อีกทั้งมีความเห็นตรงกันว่าตัวโฆษณาไอศกรีมนี้สอดแทรกสัญลักษณ์เกี่ยวกับเรื่องเพศ

อนึ่ง.. เอลล่า กรอสส์ (Ella Gross) นางแบบอายุ 11 ปี เชื้อสายอเมริกัน-เกาหลีใต้ 
มีผลงานมากมายโดยเริ่มตั้งแต่ 2 ขวบ โดยมีตั้งแต่ถ่ายแบบ โฆษณา เล่นมิวสิควิดีโอ
เดินแบบ รวมถึงความสามารถอย่างการเต้น ร้องเพลง และ เล่นกีต้าร์

โดยแบรนด์ที่น้องเอลล่าได้ร่วมงานส่วนใหญ่ไม่ใช่ธรรมดา แต่ล้วนเคยผ่านการร่วมงานกับแบรนด์ระดับทอปทั้งนั้น
ทั้ง GAP Kids, Levi, Zara Kids และ Lacoste อีกทั้งการได้เซ็นสัญญากับค่าย The Black Label 
ซึ่งเป็นค่ายในสังกัด YG Entertainment ในฐานะนางแบบและศิลปินฝึกหัด

ปัจจุบัน เอลล่า กรอสส์ มีผู้ติดตามบน Instagram มากกว่า 3.2 ล้านคน 

View this post on Instagram

I wanted to take a moment to address the reaction that Ella received to a recent project that she worked on with Baskin Robbins Korea. I’m saddened to see how certain segments of the Korean public reacted to this commercial. What was honestly meant to be a fun commercial for a new ice cream flavor is being perceived by them as something disgusting and horrific. As most women, I have many roles in my life. However, I am first and foremost a mother, a title in which I take great pride and value above anything else. Ella is my daughter who I would gladly give my life for. It pains me that people have lashed out in such a careless and combative way. Ella continues to grow up with strong faith in God and I pray she will be a role model for other girls. What matters most is how you are on the inside. Ella is a beautiful soul because she truly does not have any bad intentions. She is one of the most hard working, strongest, sweetest, down to earth girls you will ever meet. She is intelligent, she is humble, and she really is a great girl. To those that are rallying against the Baskin Robbins commercial, stop saying that you are doing this “for Ella.” She is surrounded and loved by many strong and powerful women who wholeheartedly have her best interests at heart and who are confused and angered by your hurtful and negative reactions to a beautiful child. To Ella’s fans, her friends and family that pour love onto our sweet girl, I truly want to say Thank You from the bottom of my heart. I have realized how a few words of kindness really mean more than a thousand words of hate. I am so thankful for you all! ~Ella’s Mom

A post shared by Ella G. ? (@ellagross) on

ซึ่งภายหลังกระแสโจมตีในประเด็นดังกล่าว ทางแบรนด์ไอศกรีมได้ยุติการเผยแพร่โฆษณาชิ้นนี้ลงทันที แต่การถกเถียงยังคงดำเนินต่อไปอย่างคึกโครมและไม่ใช่แค่ในสังคมออนไลน์เกาหลีใต้แต่กระจายไปในหลายประเทศทั่วโลก เกี่ยวกับ Mood and Tone ของโฆษณานั้นไม่เหมาะสมกับการเอาเด็กอายุ 11 มาเล่น เพราะทั้งเสื้อผ้าหน้าผม รวมถึงนัยยะและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่แฝงอยู่ในโฆษณาสื่อถึงการยั่วยุทางเพศเสียมากกว่า ซึ่งมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในประเด็นนี้

โดยประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องที่ตัดสินยากโดยเฉพาะกับความเห็นของสังคม ซึ่งการโฆษณาไอศกรีมนั้นต้องแสดงภาพของปากนักแสดงและการกินอยู่แล้วแน่นอน และมีหลายจังหวะของวิดีโอที่ส่อไปยังเรื่องเพศค่อนข้างชัดเจน แต่หากไม่ใช่นางแบบวัยเด็กเรื่องคงไม่บานปลาย

อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมของแต่ละประเทศด้วย เนื่องจากเกาหลีใต้เป็นประเทศที่ผู้คนค่อนข้างจริงจังกับเรื่องการคุกคามทางเป็นต่อเด็กและผู้หญิงอย่างมาก จึงเป็นที่มาของการแสดงความไม่พอใจต่อโฆษณานี้

ไม่ใช่เรื่องใหม่

หลายคนอาจคิดว่าเรื่องแบบนี้เพิ่งเคยเกิดขึ้น แต่สังคมในประเทศแถบยุโรปก็มีข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการไม่ยอมรับการใช้เด็กผู้หญิงมาถ่ายแบบให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ยกตัวอย่างเช่น

ย้อนไปเมื่อปี 2011 หากยังจำกันได้ กับกระแสวิจารณ์ความเหมาะสมของภาพจากนิตยสาร Vogue Enfants ที่คว้าเด็กสาวอายุเพียง 10 มาถ่ายแบบ ด้วยท่าทางการโพส การแสดงสีหน้า เสื้อผ้าหน้าผม ที่นักรณรงค์ให้ความเห็นว่ายัดเยียดความ “เกินวัย” ให้กับเด็ก ส่งผลให้เกิดความกังวลในสังคมเกี่ยวกับการสื่อภาพลักษณ์ที่ค่อนข้างโตกว่าวัยและไม่เหมาะสมของนางแบบอายุน้อย


ประเด็นนี้เกี่ยวโยงกับความเหมาะสมและผลกระทบต่าง ๆ มากมายที่จะเกิดขึ้นกับเด็กที่ถูกปรุงแต่งให้ทำงานในลักษณะนี้ตั้งแต่วัยเด็ก เนื่องจากมีความกังวลว่า การให้เด็กใส่ส้นสูง แต่งตัวแต่งหน้า สวยสง่าทั้งที่วัยยังเยาว์ จะส่งผลให้เด็กมองตัวเองเป็นวัตถุทางเพศ และเป็นการส่งเสริมทางเพศกับเด็กมากเกินไป

กระทั่งในประเทศฝรั่งเศสเองนั้นก็ได้ยื่นออกกฎหมายห้ามประกวดนางงามเด็กด้วยเหตุผลข้างต้น และอีกประการสำคัญคือไม่อยากให้เด็กเกิดความเข้าใจว่า คุณค่าของคนอยู่ที่ความสวยงาม ซึ่งสาเหตุสำคัญของกระบวนการความคิดนั้นล้วนมาจากพ่อแม่ที่ส่งเสริมให้ลูกเข้าวงการ ด้วยคำพูดที่ว่า ลูกต้องสวย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ความคิดของเด็กถูกปรับเปลี่ยนและเกิดผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้ ทั้งเรื่องความมั่นใจ ความสวยความงาม ไปจนอาจเกิดการลดความนับถือในตัวเองลงได้

เพราะฉะนั้นการที่สังคมส่วนใหญ่มองภาพเด็กสาวที่ทำงานในแวดวงนางแบบและโฆษณาถูกปรุงแต่งภาพลักษณ์ให้ดูโตเกินวัยนั้นค่อนข้างไม่ถูกไม่ควร และยิ่งการแสดงท่าทีที่แฝงความยั่วยุทางเพศนั้นยิ่งเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ตามบริบทสังคม นอกจากข้อเสียด้านภาพลักษณ์แล้วผลกระทบระยะยาวที่จะเกิดกับตัวเด็กสาวเองก็จะตามมาเช่นกัน