Co-Branding เป็นการนำเอาตราสินค้ายี่ห้อหนึ่ง มารวมกับตราสินค้าอีกยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการตั้งชื่อเป็นแบรนด์ใหม่งอกออกมาอีกแบรนด์
เช่น การ Co-Branding ระหว่าง กระทิงแดง หรือ Red Bull เครื่องดื่มชูกำลังชื่อดังของไทยที่ปัจจุบันทะยานไกลไปถึงนอกโลก เพราะ Red Bull ได้ทำการ Co-Branding กับ GoPro ผลิตภัณฑ์กล้องถ่ายรูปติดตามตัวชื่อก้องโลก และเมื่อรวมกันแล้วเพื่อไม่ให้เสียเที่ยว ทั้งสองบริษัทยักษ์ใหญ่ ได้แตกแบรนด์ใหม่ของทั้งคู่ออกมากลายเป็น Stratos ที่มาพร้อมกับ Project การดิ่งพสุธาลงมาจากกระสวยอวกาศของ Felix Baumgartner นักดิ่งพสุธาระดับโลก และดูเหมือนว่า ทั้ง Red Bull กับ GoPro จะยังไม่ทิ้งแบรนด์ Stratos ไปเพียงแค่จบ Event ดิ่งพสุธาในอวกาศดังกล่าว เพราะทั้งคู่ได้สานต่อด้วยการต่างคนต่างนำ Stratos ไปโปรโมตสินค้าของตนเองได้ต่อไปอีก
ตัวอย่างถัดมาของ Co-Branding คือการรวมแบรนด์ระหว่างร้านขายเสื้อผ้าประเภท Fast Fashion อย่าง H&M ซึ่งเป็นธุรกิจในระนาบเดียวกับ Zara และ Uniqlo การรวมแบรนด์ระหว่าง H&M กับห้องเสื้อชั้นนำ หรือ Luxury Brand อาทิ Versace, Balmain, Lanvin, Alexander Wang แม้กระทั่ง Madonna ก็ยังเคยรวมแบรนด์กับ H&M ซึ่งเข้าข่ายในลักษณะของ Personal Brand + Mature Brands กรณีเดียวกับนักกีฬาชื่อดัง Lionel Messi กับ Nike หรือ Cristiano Ronaldo และ Adidas
ถัดไปเป็นกรณีศึกษาการ Co-Branding ระหว่าง Burger King กับ McDonald’s ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ แต่ก็เป็นไปแล้ว เมื่อยักษ์ใหญ่ในธุรกิจแฮมเบอร์เกอร์ทั้งสองเจ้า ได้หันมาจับไม้จับมือกัน แม้จะเป็นเพียงแค่วันเดียวในประวัติศาสตร์ คือวันที่ 21 กันยายน ค.ศ.2015 หรือวัน International Day of Peace วันสันติภาพสากล โดยในวันดังกล่าว เจ้าของธุรกิจทั้งสองคือ Burger King และ McDonald’s ได้ร่วมประชุมกันในวาระวันสันติภาพสากลเพื่อ Co-Branding แฮมเบอร์เกอร์ระดับ Signature ของ Burger King นั่นคือ Whopper กับ แฮมเบอร์เกอร์ระดับ Signature ของ McDonald’s นั่นคือ BigMc กลายเป็น McWhopper แบรนด์ใหม่ที่เป็นการรวมสูตรแฮมเบอร์เกอร์ของทั้งสองร้านให้มาอยู่ในแฮมเบอร์เกอร์ชิ้นเดียวกัน นี่คือการ Co-Branding ที่น่าประหลาดใจมากที่สุด
กรณีถัดมา เป็นการ Co-Branding ของสินค้าที่ไม่น่าจะมารวมกันได้เลย ระหว่าง Coca-Cola กับ OPI หลายคนอาจไม่คุ้นแบรนด์ OPI แต่ถ้าเป็นสาวอเมริกันเรียกได้ว่าทุกคนต้องรู้จักยาทาเล็บ OPI เป็นไปได้อย่างไรที่ยาทาเล็บจะมา Co-Branding กับน้ำอัดลม Coke หรือ Coca-Cola แต่ก็เป็นไปแล้ว โดยแทบจะดูเหมือนว่าไร้เหตุผลของการ Co-Branding แต่ถ้ามองในแง่การตลาดก็คือว่า Win-Win กันทั้งคู่คือ Coke กับ OPI เพราะเป็นการสร้างความตื่นตาตื่นใจ และสร้างคำถามจากผู้พบเห็นแคมเปญโฆษณาของการ Co-Branding ดังกล่าว และไม่เพียงแค่ OPI ที่ Coca-Cola ได้ Deal ด้วย เพราะในอดีตที่ผ่านมา Coke ได้เคย Co-Branding กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่น่าจะไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำอัดลมแม้แต่น้อย เป็นต้นว่า Coca-Cola กับ Mini Cooper, Coca-Cola กับ Bacardi, Coca-Cola กับ Moschino, Coca-Cola กับ Marc Jacobs หรือ Coca-Cola กับ Karl Lagerfeld หรือการงอกแบรนด์ใหม่อย่าง Chispazo ซึ่งเป็นการ Co-Branding ระหว่าง Coca-Cola กับ Martini ยังไม่นับการนำมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติไม่ว่าจะเป็นฟุตบอลโลก ฟุตบอลยุโรป หรือโอลิมปิก รวมถึงการนำธีมภาพยนตร์ดังระดับโลก มาสกรีนลงข้างกระป๋อง Coke Can อีกนับไม่ถ้วน

การ Co-Branding กรณีสุดท้ายในสัปดาห์นี้ คือ การ Co-Branding ระหว่างมันฝรั่งทอดกรอบ Herr’s กับซอสมะเขือเทศ Heinz ซึ่งแต่เดิม มันฝรั่งทอดกรอบ Herr’s นั้นทำธุรกิจมันฝรั่งทอดกรอบเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อเวลาต่อมา ความนิยมรับประทานมันฝรั่งทอดกรอบกับซอสมะเขือเทศมีมากขึ้น ทำให้มันฝรั่งทอดกรอบ Herr’s มีการแถมซอสมะเขือเทศ Heinz ในซอง ขณะเดียวกันซอสมะเขือเทศ Heinz จากเดิมเป็นเพียงเครื่องปรุงนอกซองมันฝรั่ง เมื่อมีผู้นำซอสมะเขือเทศของตนไปบรรจุในซอง ก็จึงผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ Heinz เป็นของตัวเองแล้วนำซอสมะเขือเทศของตนใส่เข้าไป และต่อมา Herr’s กับ Heinz ก็ได้ทำการ Co-Branding ในซองเดียวกันในที่สุด
การ Co-Branding ระหว่างโทรศัพท์มือถือ Huawei บริษัทสัญชาติจีน กับกล้องถ่ายรูป Leica บริษัทสัญชาติเยอรมนี ก็เช่นเดียวกันครับ