รัฐสวัสดิการ นับเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในปัจจุบัน และได้มีการนำเอารัฐสวัสดิการของไทยไปเปรียบเทียบกับหลายประเทศ โดยเฉพาะในแถบสแกนดิเนเวียที่ได้ชื่อว่ามีรัฐสวัสดิการที่ดีระดับต้น ๆ ของโลก แต่ทั้งนี้การเกิดรัฐสวัสดิการได้หมายถึงประชาชนในประเทศต้องทำหน้าที่ของตนเองในการเสียภาษี จึงจะได้มาซึ่งรัฐสวัสดิการในฝัน และต้องไม่ลืมว่า ภาษี ที่ถูกจัดเก็บทุกประเภทไม่ได้ใช้เฉพาะรัฐสวัสดิการเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องนำไปพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ ด้วย
บทความนี้จะมาให้รายละเอียดว่ารัฐสวัสดิการของไทยกับระบบจัดเก็บภาษีในปัจจุบันนั้นได้ให้อะไรกลับคืนมาสู่คนในสังคมบ้าง และต้องไม่ลืมว่า ภาษีที่ถูกจัดเก็บทุกประเภทไม่ได้ใช้เฉพาะรัฐสวัสดิการเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องนำไปพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ ด้วย
ทำความเข้าใจคำว่า “รัฐสวัสดิการ”
ประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะมีสวัสดิการทางสังคมให้แก่ประชาชน แต่ในทางกลับกันประชาชนก็ต้องเสียภาษีเพื่อให้รัฐมีรายได้นำไปใช้จ่ายในการจัดทำบริการสาธารณะต่าง ๆ แก่ประชาชน หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า รัฐสวัสดิการ โดยรัฐสวัสดิการเป็นแนวคิดที่ประเทศทุนนิยมนำมาใช้เพื่อแก้ข้อบกพร่องของระบบทุนนิยม
สถานการณ์สวัสดิการของประเทศไทยในปัจจุบัน
ประเทศไทยมีประชาชนประมาณ 70 ล้านคน มีความหลากหลายทั้งฐานะ อายุ ระดับการศึกษา ที่อยู่อาศัย อาชีพ การใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งรัฐบาลจัดสวัสดิการโดยรวมให้ด้วยการออกนโยบายสวัสดิการสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับสวัสดิการจะต้องลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบว่ามีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดหรือไม่ ถ้ามีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดจึงจะได้รับสวัสดิการ ในปัจจุบันมีสวัสดิการหลัก ๆ ดังนี้
- เด็กแรกเกิด-อายุ 6 ปี
โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด-ให้เฉพาะครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท/ปี- ครอบครัวได้รับเงินอุดหนุนในการเลี้ยงดูเด็ก 600 บาท/คน/เดือน
- ผู้มีรายได้น้อย ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ-ได้รับเงินเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 200-300 บาท/คน/เดือน และเงินค่าเดินทางรวม 1,500 บาท/คน/เดือน – ได้รับเงินเยียวยาจากนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ
- การศึกษา เด็กในวัยเรียน
นโยบายเรียนฟรีอนุบาล-ม.3-เด็กในวัยเรียนได้เรียนฟรีจนจบชั้นมัธยมต้น
- สุขภาพ
ผู้ที่ไม่มีสิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการหรือประกันสังคม ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง 30 บาท)-ได้รับบริการทางสุขภาพ เช่น การป้องกันโรค การตรวจ การรักษา การฟื้นฟูสุขภาพ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- ผู้พิการ
ผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวผู้พิการ เบี้ยยังชีพผู้พิการ-ได้รับเบี้ยยังชีพผู้พิการ 1,000 บาท/คน/เดือน
- ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได-ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600-1,000 บาท/คน/เดือน (ตามขั้นอายุ)
- ประกันสังคม
ลูกจ้างที่เป็นแรงงานในระบบกองทุนประกันสังคม-ได้รับสิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไข เช่น การรักษาพยาบาล การทดแทนรายได้เมื่อว่างงาน สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองเมื่อเสียชีวิต ทุพพลภาพ ชราภาพ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่ารัฐสวัสดิการของไทยนั้นพยายามจะให้ความช่วยเหลือครอบคลุมกับประชากรในทุกช่วงวัยและทุกระดับชั้น เพียงแต่ความช่วยเหลือ อาจจะยังไม่ทั่วถึงเพราะงบประมาณที่มีจำกัด อันเนื่องมาจากการจัดเก็บภาษีในประเทศนั้นยังคงมีอัตราที่ไม่สูงมากนัก ทำให้รัฐสวัสดิการของไทยจึงเป็นการให้เงินเพื่อช่วยเหลือมากกว่าจุนเจือเพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ดังนั้น ถ้าอยากได้รัฐสวัสดิการที่ดี ก็คงต้องมีวิธีการจัดเก็บภาษีที่ดีกว่าในปัจจุบันและคนที่เสียภาษี คงต้องมองไปที่ สังคมที่จะมีชีวิตอยู่เมื่อถึงวัยชรา ว่าอยากได้แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือแบบที่ดีขึ้นในอนาคต
ที่มาข้อมูล