ตะลุยฟิลิปปินส์ (ตอนแรก) 60 ปี “ซีเกมส์” จาก SEAP 1959 ถึง SEA 2019
การแข่งขัน “กีฬาแหลมทอง” นั้น ที่เรียกชื่อนี้กัน ก็เนื่องมาจากว่า ได้มีการเปรียบเทียบผืนดิน “อินโดจีน” ว่า “แหลมทอง” นั่นเองครับ
อันหมายถึงแผ่นดินที่งอกลงมาจากผืนดินใหญ่ซึ่งอยู่ตอนเหนือหรือจีนลงมาสู่ “อินโดจีน” อันได้แก่ พม่า เวียดนาม ไทย ลาว กัมพูชา ระเรื่อยไปจนกระทั่งถึงภาคพื้นชายทะเลตอนล่าง อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย (รวมติมอร์เลสเต) บรูไน และขึ้นไปทางตอนเหนือ คือ ฟิลิปปินส์
ดังนั้น “กีฬาแหลมทอง” จึงหมายถึงมหกรรมการแข่งขันกีฬาที่จัดขึ้นใน “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นั่นเองครับ
คณะกรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน “กีฬาแหลมทอง” ได้จัดตั้ง “สหพันธ์กีฬาแหลมทอง” ขึ้น อันประกอบไปด้วย “6 ชาติสมาชิก” ผู้ก่อตั้ง “สหพันธ์กีฬาแหลมทอง” คือ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา
โดย “สหพันธ์กีฬาแหลมทอง” ได้ตกลงร่วมกันว่า จะจัดให้มีการแข่งขันกีฬาระหว่างภูมิภาค หรือ “กีฬาแหลมทอง” ขึ้นในทุกๆ สองปีต่อ 1 ครั้ง
นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1959 จนถึง
จากนั้น “กีฬาแหลมทอง” ได้มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ 2 ปี รวม 8 ครั้ง (16 ปี) จนถึงปี ค.ศ. 1975 แล้วจึงมีการเปลี่ยนชื่อ “กีฬาแหลมทอง” เป็น “ซีเกมส์” นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 เป็นต้นมานั่นเองครับ
“กีฬาแหลมทอง” 8 ครั้งแรก หรือ “ซีเกมส์” 8 หนแรกนั้น บรรยากาศเกมการแข่งขันก็เหมือนกับมหกรรมกีฬาโลกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น “เอเชี่ยนเกมส์” “โอลิมปิกเกมส์” “ฟุตบอลโลก” หรือ “ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป” ซึ่งเกมการแข่งขันเป็นไปอย่างขาวสะอาด มีความเป็นสุภาพบุรุษเป็นอย่างสูง
ต่างจากมหกรรมการแข่งขันกีฬาในยุคปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาเกมการแข่งขันและนักกีฬาเกิดเป็นอาชีพหรือนักกีฬาอาชีพ แม้ว่า “โอลิมปิกเกมส์” ก็ดี “เอเชี่ยนเกมส์” ก็ดี โดยเฉพาะ “ซีเกมส์” จะมีกฎให้ใช้นักกีฬาสมัครเล่นเข้าร่วมทำการแข่งขัน ทว่า จิตวิญญาณการกีฬาดูเหมือนว่าจะเจือจางลงไปมากตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป
หากจะยกตัวอย่าง ก็คงขอให้ท่านผู้อ่านแฟนพันธุ์แท้ “ต้นคิด 360 องศา” นึกภาพเกมการแข่งขัน “ฟุตบอลโลกหญิง” ที่บรรยากาศการแข่งขันเป็นไปอย่างขาวสะอาด มีความเป็นสุภาพบุรุษเป็นอย่างสูง แม้นักกีฬาจะเป็นสุภาพสตรีก็ตาม
เนื่องจาก “ฟุตบอลโลกหญิง” มีเกมการแข่งขัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตวิญญาณการกีฬาที่เล่นกันไปตามเกม และกฎกติกามารยาท ไม่มีการอาศัยช่องว่างของกติกามาเล่นงานคู่ต่อสู้ พูดอีกแบบก็คือ ไม่มีมารยา เล่นละครตบตาผู้ตัดสิน เลี้ยงคือเลี้ยง ฟาวล์คือฟาวล์ ยิงคือยิง สกัดคือสกัด ทุกอย่างเป็นไปอย่างขาวสะอาด มีความเป็นสุภาพบุรุษเป็นอย่างสูง
ต่างจาก “ฟุตบอลชาย” ที่เต็มไปด้วยมารยา 108-1009 ประการ ซึ่งเปรียบไปก็เสมือนกับสมรภูมิการแย่งชิงกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา “ซีเกมส์”
เพราะ “ซีเกมส์” นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 เป็นต้นมา เรียกได้ว่า หากชาติใดได้โอกาสรับหน้าเสื่อเป็น “เจ้าภาพ” จัดการแข่งขัน ก็จะแอบบรรจุเอา “กีฬาพื้นบ้าน-กีฬาพื้นเมือง-กีฬาพื้นถิ่น” ของชาตินั้นๆ บรรจุเข้ามาในตารางเหรียญทอง แปลไทยเป็นไทยก็คือ “กีฬาพื้นบ้าน-กีฬาพื้นเมือง-กีฬาพื้นถิ่น” นั้น ไม่มีการแข่งขันใน “โอลิมปิกเกมส์” กระทั่ง “เอเชี่ยนเกมส์” ก็ยังไม่มีบางชนิด “กีฬาพื้นบ้าน-กีฬาพื้นเมือง-กีฬาพื้นถิ่น” นั่นเองครับ
ประเด็นนี้เป็นกลเกมของชาติเจ้าภาพใน “ซีเกมส์” ที่แม้ส่วนใหญ่จะพอเข้าใจได้เนื่องจากส่วนมากเป็น “ประเทศด้อยพัฒนา” หรือเรียกแบบสุภาพว่า “ประเทศกำลังพัฒนา” ทว่า บางประเทศได้ขึ้นชั้นเป็น “ประเทศที่พัฒนาแล้ว” อย่างสิงคโปร์ หรือก้ำกึ่งอย่างมาเลเซีย แม้กระทั่งไทย และเวียดนาม ทว่า เราก็ยังพบการบรรจุ “กีฬาพื้นบ้าน-กีฬาพื้นเมือง-กีฬาพื้นถิ่น” เข้าไปในตารางเหรียญทอง “ซีเกมส์” อยู่ดี
สำหรับ “ตำนานซีเกมส์” ตั้งแต่ “กีฬาแหลมทอง” จนกระทั่งถึงปัจจุบัน คงจะจบลงเพียงเท่านี้
ในอีก 2 ตอนข้างหน้า เราจะไปตะเวนเมืองหลักของ “ฟิลิปปินส์” เจ้าภาพจัดการแข่งขัน “ซีเกมส์ ครั้งที่ 30” และไปดูสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองต่างๆ ที่ใช้จัดการแข่งขันกันครับ เพื่อต้อนรับ “60 ปี ซีเกมส์” แล้วพบกันครับ
ตะลุยฟิลิปปินส์ (ตอนจบ) Goodbye Manila