ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดความวุ่นวายไปทั่วสนามบินในสหรัฐอเมริกาหลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามในคำสั่งห้ามคนเข้าเมืองจาก 7 ประเทศมุสลิม คือ อิหร่าน อิรัก ซีเรีย ซูดาน ลิเบีย โซมาเลีย และเยเมน ไม่ให้เข้าสหรัฐฯเป็นเวลาอย่างน้อย 90 วัน และปฏิเสธกับรับผู้อพยพจากซีเรียเป็นเวลา 120 วัน คำสั่งดังกล่าวทำให้ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองต้องกักตัว ชาวมุสลิมที่เดินทางมาจาก 7 ประเทศ และ ไม่รับผู้อพยพจากซีเรีย และส่งตัวกลับทันที แน่นอนว่าวิธีการดังกล่าวสร้างความไม่พอใจและกลายเป็นการรวมตัวประท้วงที่สนามบิน เรื่องนี้อาจไกลตัวคนไทย แต่นโยบายดังกล่าวของทรัมป์ เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นในเลือกปฎิบัติ โดยมีลักษณะของการเหยียดเชื้อชาติ และ ศาสนา ซึ่งจะส่งผลกระเทือนไปทั่วโลกอย่างแน่นอน
ทีนี้มาดูกันว่าในช่วง 4 วันที่ผ่านมาคำสั่งของโดนัลด์ ทรัมป์ส่งผลใดๆต่อประชมคมโลกบ้าง
27 มกราคม 2560
โดนัลด์ ทรัมป์ ลงลายมือชื่อในคำสั่งห้ามคนเข้าเมืองจาก 7 ประเทศมุสลิม คือ อิหร่าน อิรัก ซีเรีย ซูดาน ลิเบีย โซมาเลีย และเยเมน ไม่ให้เข้าสหรัฐฯเป็นเวลาอย่างน้อย 90 วัน และปฏิเสธกับรับผู้อพยพจากซีเรียเป็นเวลา 120 วัน
28 มกราคม 2560
หลังคำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้เกิดความทั่วสนามบินในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะที่สนามบิน เจเอฟเค นิวยอร์ค ที่มีกลุ่มผู้ชุนนุมประท้วงนับพันคน ขณะที่ทนายความทั่วทั้งนครนิวยอร์คใช้สื่อสังคมออนไลน์บอกต่อกันให้มาช่วย คนเข้าเมืองที่มาจาก 7 ประเทศมุสลิมไม่ให้ถูกกักตัว และหลังจากถูกกดดันมาตลอดทั้งวันที่สุดศาลสูงของสหรัฐฯมีคำสั่งยับยั้งการใช้คำสั่งดังกล่าวชั่วคราว ส่งผลให้คนมุสลิมที่ถูกกักตัวไว้ได้รับการปล่อยตัวให้เข้าประเทศได้ และทำให้ #mulimban ติดอยู่ในเทรนด์ ทวิตเตอร์
29 มกราคม 2560
เมื่อข่าวการใช้คำสั่งห้ามคนเข้าเมืองจาก 7 ประเทศมุสลิม เผยแพร่ออกไปทั่วโลกก็เกิดกระแสต่อต้านคำสั่งดังกลาวของทรัมป์ และทำให้ผู้นำประเทศที่มีพรมแดนติดกันอย่างแคนาดา นายจัสติน ทรูโด ออกมาทวิตข้อความผ่านทวิตเตอร์ทันที่ว่า “แคนาดายินดีต้อนรับผู้อพยพ” ขณะที่ผู้นำอังกฤษ นาง เทเรซ่า เมย์ ออกมาแสดงจุดยืนว่าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวของทรัมป์เช่นกัน พร้อมกันนั้นเหล่าซีอีโอของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ ต่างแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการกระทำของทรัมป์ ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ค ไมโครซอฟ หรือ กูเกิ้ล ที่ต้องเรียกเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีเชื้อชาติใน 7 ประเทศต้องห้ามของทรัมป์ กลับเข้าสหรัฐฯ ขณะที่ ซีอีโอ Airbnb ประกาศให้ที่พักฟรีแก่ผู้อพยพ
30 มกราคม 2560
จากคำสั่งศาลสูงที่ให้มีการระงับคำสั่ง ทำให้ทรัมป์ เตรียมตั้งทีมกฎหมายของรัฐ หรือ อัยการสูงสุดให้สู้คดีดังกล่าวเพื่อให้คำสั่งห้ามคนจาก 7 ประเทศมุสลิม และ ห้ามผู้อพยพจากซีเรียเข้าสหรัฐฯเป็นเวลา 120 วันมีผลกลับมาบังคับใช้ได้ แต่รักษาการตำแหน่งอัยการสูงสุดของสหรัฐฯ นาง แซลลี่ ฟีลด์ สั่งให้กระทรวงยุติธรรมไม่สู้คดีให้ทรัมป์ เรื่องดังกล่าวส่งผลให้ทรัมป์ ปลดเธอออกจากตำแหน่งทันทีและแต่งตั้ง ดาน่า โบเอนเต้ เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน