หยุดนิสัยสุรุ่ยสุร่ายด้วย 20 ข้อนี้ รู้จักควบคุมเงินทุกบาททุกสตางค์

ช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย การใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายเหมือนเดิมไม่น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีนัก หากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ยังคงใช้เงินแบบเดือนชนเดือน ไม่มีเงินสำรองไว้สำหรับช่วงเวลาฉุกเฉิน ชีวิตของคุณน่าจะเริ่มอยู่ยากขึ้น สัปดาห์นี้ Tonkit360 มี 20 วิธีเพื่อควบคุมการเงินของคุณให้อยู่หมัด อุดทุกรอยรั่วของค่าใช้จ่าย เพื่อให้คุณเหลือเงินเก็บเอาไว้เหมือนคนอื่นเขาบ้าง

1. หาข้อมูลเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคล

ก่อนที่จะแก้ปัญหา จงหาทางออกของปัญหาด้วยปัญญา ปัจจุบันมีหนังสือแนะนำเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลหลายเล่มที่จะทำให้คุณรู้ว่าการเงินส่วนบุคคลที่จะทำให้คุณมีชีวิตอยู่โดยไม่ลำบาก ไม่เป็นหนี้ และมีเงินเก็บเอาไว้ในยามฉุกเฉินนั้นควรทำอย่างไร

2. เริ่มต้นด้วยวางแผนค่าใช้จ่าย

หลายคนบอกว่า “จดรายรับรายจ่ายแล้วไม่เห็นเงินจะเหลือ” มันจะเหลือได้อย่างไรถ้าคุณเอาแต่จด แต่ไม่นำมาปฏิบัติ เพราะการจดค่าใช้จ่ายจะทำให้คุณรู้ว่าตนเองใช้เงินกับเรื่องอะไรไปบ้าง และเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเสียเงินด้วยหรือเปล่า ดังนั้นชีวิตการเงินส่วนบุคคลจะดี ถ้าคุณรู้จักวางแผนค่าใช้จ่ายและนำมาวิเคราะห์และไปปฏิบัติใช้จริง

3. ลดค่าใช้จ่ายต่อเดือน

เมื่อวางแผนค่าใช้จ่ายแล้ว คุณจะเห็นว่ามีค่าใช้จ่ายต่อเดือนอะไรบ้างที่เกินมา ไม่ว่าจะเป็นค่ารถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต ที่คุณใช้โดยไม่ระมัดระวัง เมื่อเห็นตัวเลขแล้ว ลองลดค่าใช้จ่ายที่คุณคิดว่าเกินความจำเป็นดู

4. ยกเลิกเคเบิลทีวี

เชื่อไหมว่าหลายคนติดตั้งเคเบิลทีวีแล้วไม่เคยได้ดูเลย เพราะชินกับการดูฟรีทีวีปกติ และเคเบิลทีวี ถือเป็นการจ่ายค่าบริการที่ฟุ่มเฟือยอย่างหนึ่ง ดังนั้นถ้าคุณอยากตัดค่าใช้จ่าย เคเบิลทีวีคือสิ่งแรกที่คุณควรทำ

5. ลดการกินข้าวนอกบ้าน

การกินข้าวนอกบ้าน คือรายจ่ายที่มากเกินความจำเป็น เพราะมันคือการไปซื้อบริการ ดังนั้นถ้าคุณต้องการประหยัด ลองเริ่มต้นด้วยการทำอาหารที่บ้านกินเอง หรือห่อมื้อกลางวันไปกินที่ทำงาน น่าจะช่วยประหยัดได้มากเลยทีเดียว

6. วางแผนทำอาหารรายเดือน

ทำไมต้องวางแผนทำอาหารรายเดือน คำตอบคือ คุณจะได้ซื้อของสดทีเดียว ไม่จำเป็นต้องเป็นเมนูเดียวกันทั้งเดือน แต่ในแต่ละสัปดาห์คุณสามารถทำเมนูที่แตกต่างกันได้ หากแต่ลดค่าใช้จ่ายในการไปซื้อของสดหรือเครื่องปรุง ให้กลายเป็นเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตแค่หนึ่งครั้งต่อเดือนพอ

7. พยายามจ่ายหนี้ให้ได้มากที่สุด

ไม่มีประโยชน์ที่คุณจะพยายามเก็บเงิน แต่ยังมีหนี้บัตรเครดิตที่มาพร้อมกับดอกเบี้ยมหาโหด ดังนั้นพยายามเคลียร์หนี้ในทุกเดือนให้เรียบร้อย เพื่อที่จะทำให้ชีวิตของคุณไม่รุงรัง

8. ใช้เครดิตการ์ดให้น้อยที่สุด

เวลารูดเครดิตการ์ดจะรู้สึกเพลิดเพลิน แต่มันคือการนำเอาเงินในอนาคตมาใช้ ดังนั้นใช้เท่าที่จำเป็น และไม่ควรใช้เครดิตการ์ดกับการซื้อของในชีวิตประจำวัน เพราะจะทำให้คุณซื้อของโดยไม่มีความจำเป็น

9. ชำหนี้เงินกู้เพื่อการศึกษาให้จบให้เร็วที่สุด

หนี้เงินกู้เพื่อการศึกษานั้นมีดอกเบี้ยที่ไม่แพงหนัก เมื่อคุณเริ่มทำงานก็ควรเริ่มใช้หนี้คืนเลย เพราะจะทำให้หนี้ของคุณหมดไว และส่งผลต่อดีต่อประวัติการชำระหนี้ของคุณด้วย

10. พยายามเก็บเงินรายสัปดาห์

มือใหม่หัดออม พยายามออมเงินแบบรายสัปดาห์ในจำนวนเท่ากัน จะทำให้คุณลดค่าใช้จ่ายของตนเองได้

11. ควบคุมค่าใช้จ่าย แยกให้ออกระหว่างความจำเป็นกับสิ่งที่อยากได้

ควบคุมค่าใช้จ่ายโดยกำหนดช่วงเวลาที่คุณจะไม่ใช้เงินเกินความจำเป็น อาจเป็น 21 วันที่คุณจะใช้แต่เงินสดในการซื้อของเท่าที่จำเป็น ไม่ใช้บัตรเครดิตเลย แบบนี้จะทำให้คุณลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยลงไปได้

12. วางแผนการเงินของคุณเอง

วางแผนทางการเงินไม่ใช่การจดรายรับรายจ่าย แต่เป็นการวางแผนทางการเงินเพื่อให้สถานะทางการเงินของคุณดีขึ้น หรือยอดเงินที่คุณอยากเห็นในบัญชีเงินฝากของตนเอง เริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยจะทำให้คุณทำตามแผนจนสัมฤทธิ์ผลได้ดีกว่

13. ตั้งเป้าหมายทางการเงินที่ทำได้จริง

หลายคนเวลาตั้งเป้าหมายทางการเงิน ไม่ได้ดูรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือนของตนเอง หากจะไปให้ถึงเป้าได้จริง ต้องทำให้สมดุลกันระหว่างความจริงกับความฝัน และการประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายทางการเงินนั้นต้องใช้เวลา อย่าโลภมาก

14. ศึกษาการลงทุน

หากคุณต้องการให้เงินเก็บของคุณเพิ่มขึ้นโดยที่คุณเองนั่งมองการงอกเงยของมัน ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการลงทุน ค่อย ๆ ทำและค่อย ๆ ศึกษา สุดท้ายคุณจะกลายเป็นอีกคนที่มี passive income เป็นของตนเอง

15. อย่าได้แตะเงินออมถ้าไม่จำเป็น

หลายคนออมเงินในบัญชีเงินเดือน ซึ่งไม่เป็นการปกป้องเงินออมของคุณเลย เพราะคุณสามารถดึงเงินออมมาใช้ได้โดยง่าย วิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องเงินออมของคุณ คือการฝากไว้ในบัญชีเงินฝากประจำหรือลงทุนในกองทุน เพื่อให้เงินออมของคุณไม่ถูกถอนออกมาใช้ได้โดยง่าย

16. เพิ่มจำนวนเงินเก็บเพื่อวัยเกษียณ

เงินเก็บเพื่อวัยเกษียณ สามารถเริ่มได้ตั้งแต่คุณเริ่มทำงานปีแรก เพราะจำนวนเงินจะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และทำให้คุณมีเงินเก็บเพื่อวัยเกษียณของตนเองได้มากกว่ามาเริ่มในวัย 40+

17. หารายได้จากอาชีพเสริม

การทำงานที่เดียว ไม่มั่นคงอีกต่อไป ลองหาอาชีพเสริมเอาไว้เป็นตัวเลือกเพื่อให้คุณได้ออมเงินเพิ่มขึ้น

18. พัฒนาความสามารถในการทำงานของตนเอ

ถ้าคุณมีความสามารถเพิ่มมากขึ้น รายได้ของคุณก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้นลงทุนเพื่อพัฒนาศักยาภาพของตนเองจึงเป็นเรื่องที่คุณควรจะทำ

19. ซื้อประกันเพื่อลดความเสี่ยงทางการเงิน

การซื้อประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ คือการจ่ายเงินเพื่อทำให้ความเสี่ยงของคุณลดลง หากเกิดเหตุที่ไม่คาดคิด และ คุณไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องเงินก้อนที่คุณไม่เคยมี

20. ใช้ประโยชน์จากสวัสดิการของบริษัท

หลายบริษัทมีสวัสดิการให้กับพนักงานทั้งในเรื่องประกันสุขภาพกลุ่ม ค่าทำฟัน หรือแม้แต่การกู้เพื่อซื้อบ้าน ขอให้ศึกษาสวัสดิการของบริษัทให้ดีและใช้ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด