
จากสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยเฉพาะแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้ประกอบการรายย่อย ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มาตราดูแลและเยียวยา ระยะที่ 2 ดังนี้
สำหรับแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
1. สนับสนุนเงิน 5,000 บาท / ราย นาน 3 เดือน
**เฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดที่เสี่ยงต่อการระบาดชั่วคราว
2. สินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาท / ราย
-อัตราดอกเบี้ย 0.1% / เดือน
-ไม่ต้องมีหลักประกัน
3. สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาท / ราย
-อัตราดอกเบี้ย 0.35% / เดือน
-ต้องมีหลักประกัน
4. สนง.ธนานุเคราะห์รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ
-ดอกเบี้ยไม่เกิน 0.125% / เดือน
5. ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
-เลื่อนกำหนดยื่นแบบ / ชำระภาษี ออกไปเป็นสิงหาคม 2563
6. หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น
-เพิ่มวงเงินลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ จาก 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท
7. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคลากรทางการแพทย์
8. ฝึกอบรม เพิ่มรายได้
-ฝึกอบรมเพิ่มทักษะอาชีพให้กับแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว และผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ
**นักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้สามารถเข้าร่วมได้
-ฝึกอบรมผ่านภาคีเครือข่าย อาทิ มูลนิธิ โครงการเนื่องจากพระราชดำริ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระทรวงอว.
สำหรับผู้ประกอบที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
1. สินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 3 ล้านบาท/ราย
-ดอกเบี้ย 3 % 2 ปีแรก
2. ยืดการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
-ภงด.50 ภายใน 31 ส.ค. 2563
-ภงด.51 ภายใน 30 ก.ย. 2563
3. ยืดการเสียภาษีสรรพากร
-เลื่อนกำหนดยื่นแบบ/ชำระภาษี
ทุกประเภท 1 เดือน
4. ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้กิจการสถานบริการ
-เลื่อนยื่นแบบ/ชำระภาษี 3 เดือน
-ให้เสียภาษี 15 ก.ค. 2563
5.ยีดการเสียภาษีสรรพสามิตให้ผู้ประกอบการน้ำมัน
-เลื่อนยื่นแบบ/ชำระภาษีภายใน 15 วันของเดือนถัดไป
-ระยะเวลา 3 เดือน
6. ยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกัน/รักษา COVID-19
-ระยะเวลา 6 เดือน จนถึงช่วงก.ย.2563
7. ยกเว้นภาษี/ค่าธรรมเนียมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
-ให้เจ้าหนี้ไม่ใช่สถาบันการเงิน (สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ ลิซซิ่ง)
-ตั้งแต่ 1 ม.ค. 63 – 31 ธค. 2564