ทำความรู้จักพายุโซนร้อนในช่วงฤดูหนาว

มีหลายคนแปลกใจว่าทำไมถึงเกิด พายุโซนร้อน หรือ ฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงฤดูหนาว คำตอบคือ พายุส่วนใหญ่จะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออก และในช่วงปลายปีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนพายุจะเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ แต่ในภาคอื่นๆ จะกลายเป็นฤดูหนาว ความกดอากาศสูงจากประเทศจีน นำความหนาวเย็นลงมา ระบบอากาศในช่วงนี้จึงไม่เอื้อให้เกิดพายุขึ้นเหนือทะเล

และประกาศล่าสุดจากที่กรมอุตุนิยมวิทยา เมื่อวันที่ 2 มกราคมที่ผ่านมาเรื่อง พายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวน และ เคลื่อนลงอ่าวไทย โดยจะส่งผลกระทบให้เกิดฝนตกหนัก ถึงหนักมากทางภาคใต้ของไทยบริเวณจังหวัด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ซึ่งความรุนแรงของพายุโซนร้อนนั้นนอกจากลมแรง และ ฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่แล้ว ยังมีผลกระทบที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และ ในบางพื้นที่อาจเกิดเหตุดินถล่มเนื่องจากฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน เมื่อเป็นเช่นนี้เรามาทำความรู้จักความรุนแรงของพายุโซนร้อน เพื่อเตรียมรับมือความเปลี่ยนแปลงของอากาศที่จะกิดขึ้นกันดีกว่า

พายุโซนร้อน (Tropical Storm) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 34 ถึง 64 นอต (63 ถึง 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

– การเกิดขึ้นของพายุโซนร้อน มักก่อตัวขึ้นกลางมหาสมุทร เนื่องจากน้ำบนมหาสมุทรได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ก็จะระเหยขึ้นเป็นไอน้ำแล้วควบแน่นเป็นเมฆก่อตัวแนวดิ่งจำนวนมากแล้วรวมตัวเป็นพายุ

– พายุโซนร้อนสามารถทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดในวงกว้าง สามารถส่งผลให้เกิดน้ำท่วม ฉับพลัน ต้นไม้ใหญ่หักโค่นได้ง่ายจากกำลังลม และ อาจเกิดเหตุดินถล่มเนื่องจากฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้พายุจะเคลื่อนที่ไปตามแนวความกดอากาศต่ำ (L) เนื่องจากในอากาศร้อนชื้นมีไอน้ำอยู่เป็นจำนวนมากเป็นตัวหล่อเลี้ยงพายุ แต่เมื่อพายุเคลื่อนตัวขึ้นบนแผ่นดินก็สลายตัวไป

– กรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทยได้ ได้ออกประกาศเกี่ยวกับพายุโซนร้อนปาบึก โดยคาดว่าพายุจะเคลื่อนตัวเข้าอ่าวไทยในวันที่ 2–3 มกราคม และส่งผลกระทบกับภาคใต้ในวันที่ 3–5 มกราคม

– ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงควรเฝ้าระวัง คอยติดตามข่าวจากรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และ เตรียมพร้อมสำหรับการอพยพหากเกิดเหตุฉุกเฉิน