อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ หรือ เฮลธ์แคร์ คือหนึ่งในภาคส่วนที่มีการใช้พลังงานมากที่สุด คิดเป็น 7% ของการปล่อยคาร์บอนทั้งหมด ซึ่งโรงพยาบาลมีการใช้พลังงานและน้ำในปริมาณมาก อีกทั้งยังสร้างของเสียจำนวนมากเช่นกัน สอดคล้องกับการศึกษาจาก Healthcare Without Harm ที่ชี้ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเฮลธ์แคร์ เทียบเท่าอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิทั่วโลกที่ 4.4% โดยสหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป คิดเป็น 56% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ทั้งหมดทั่วโลก
องค์การอนามัยโลก ประเมินว่าค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการใช้พลังงานตามสถานพยาบาลต่าง ๆ มีแต่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ภายในห้าปีข้างหน้า เมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโรงพยาบาลพบว่า 25% เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน ฉะนั้น การลดพลังงานจึงช่วยสร้างประสิทธิภาพด้านการเงินที่ดีขึ้นได้ทันที
สิ่งสำคัญสำหรับองค์กรด้านการดูแลสุขภาพ คือการพัฒนาและนำกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนมาใช้ นอกจากจะช่วยให้บรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปารีสแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานได้
นอกเหนือจากคำมั่นสัญญาเหล่านี้ องค์กรทางคลินิกบางแห่งอย่าง Doctors for the Environment Australia ยังสนับสนุนความมุ่งมั่นเหล่านี้อย่างจัง อีกทั้งเรียกร้องให้หลายองค์กรออกมาแสดงความมุ่งมั่นเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ให้ได้ภายในปี 2040 โดยมีเป้าหมายตามระยะเวลาที่กำหนด คือการลดคาร์บอนให้ได้ 80% ภายในปี 2030
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตของความยั่งยืน
Greenhouse Gas Protocol ซึ่งเป็นมาตรฐานการทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกสำหรับทั้งภาครัฐและเอกชน ได้นิยามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน 3 ขอบเขต (Scope) ด้วยกัน โดยอิงจากความเป็นเจ้าของและระดับของการควบคุมการปล่อยก๊าซ
สำหรับอุตสาหกรรมภาคการดูแลสุขภาพ สอดคล้องตาม Healthcare Without Harm การกระจายการปล่อยก๊าซคาร์บอนในขอบเขตความยั่งยืนทั้งหมดได้แก่
Scope 1 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเผาไหม้ฟอสซิลโดยตรง (เช่น ก๊าซธรรมชาติหรือเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะตัวเอง) คิดเป็น 17% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเฮลธ์แคร์ทั่วโลก
Scope 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากแหล่งพลังงานที่ซื้อมา (ไฟฟ้า ระบบทำความร้อนและทำความเย็นส่วนกลาง ไอน้ำ และ ฯลฯ) คิดเป็นอีก 12% ขึ้นอยู่กับการสร้างไฟฟ้าจากกริด
Scope 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากซัปพลายเชนในภาคอุตสาหกรรมดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนที่มีนัยสำคัญที่สุดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดอยู่ที่ 71% ซึ่งการปล่อยก๊าซใน Scope 3 ยังเป็นส่วนที่ติดตาม ตรวจสอบและกำจัดได้ยากที่สุด เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับ
Scope ย่อยต่าง ๆ เช่นการเดินทางเพื่อธุรกิจ การขนส่งพนักงานและผู้เยี่ยมชม รวมถึงการปล่อยก๊าซจากการลงทุน ซื้อหรือเช่าอุปกรณ์ต่าง ๆ
องค์กรภาคอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ทั้งหมด กำลังพัฒนาและนำแผนงานมาใช้ในการบริหารจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดใน 3 scope ที่ว่า โดยกลยุทธ์เหล่านี้ประกอบด้วยการดำเนินงานโดยตรงในส่วนของกิจกรรมที่ช่วยสร้างประสิทธิภาพด้านพลังงานในระยะสั้น ถึงระยะกลาง ตลอดจนระยะยาว เช่นการจัดการวงจรของสินทรัพย์ แผนการลงทุนเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และแผนจัดซื้อพลังงาน
โดย แดเนียล การ์เซียร์ กิล ดูแลด้านสถาปัตยกรรม IoT โซลูชั่น ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
ที่มา: เอพีพีอาร์ มีเดีย