เจาะมุมมอง Isan 2030 ผลักดัน BCG Model

ปัจจุบันโลกกำลังให้ความสำคัญกับเรื่อง Climate Change ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมทั่วโลก โดยมีการศึกษาว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในแต่ละองศามีผลกระทบต่อ GDP ซึ่งการปล่อยก๊าซมีเทนในภาคการเกษตรก็มีผลต่อสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นโมเดล BCG ไม่ได้เป็นเพียงแค่การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น แต่ยังช่วยในเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศไทยได้นำยุทธศาสตร์ BCG มาใช้ เพื่อพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง ใช้ประโยชน์จากความเข้มแข็งของ “ความหลากหลายทางชีวภาพ” และ “ความหลากหลายทางวัฒนธรรม” มาต่อยอดและยกระดับมูลค่าให้ ecosystem ของการผลิตสินค้าและบริการมีมูลค่าสูงขึ้น

Khon Kaen Innovation Centre (KKIC) และกลุ่มมิตรผล ร่วมกับอีก 50 เครือข่ายพันธมิตร ภาครัฐและเอกชน มองเห็นถึงโอกาสสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคอีสาน จึงร่วมกันผลักดันโมเดล BCG โดยมีเป้าหมายให้ “อีสาน” เป็นศูนย์กลางการยกระดับอุตสาหกรรม BCG ของไทยและเอเชีย ในปี 2030 โดยจัดงาน Isan BCG Expo 2022 สุดยอดมหกรรมนวัตกรรมยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอีสาน ภายใต้แนวคิด Collaboration | ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ พร้อมชู 3 จุดแข็ง “สร้างสรรค์ ต่อยอด ยั่งยืน” สานต่อวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีของภาคอีสาน

พร้อมเปิดโอกาสและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านธุรกิจและวิชาการกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน นักลงทุน และผู้ประกอบการต่าง ๆ ทั้งในประเทศและประเทศ CLMVT ให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ กรรมการ กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า “Isan BCG ภายใต้แนวคิด Collaboration | ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ เป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนพัฒนาภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปจนถึงใน 8 ปีข้างหน้าหรือในปี 2030  ซึ่งเราตระหนักดีว่าอีสานมีทรัพยากรจำกัดและมีบริบทของท้องถิ่นอีสาน โดยอีสานมีพื้นที่ 168,000 ตารางกิโลเมตร มีคนอยู่ 1 ใน 3 ของประเทศหรือประมาณ 22.7 ล้านคน มีแรงงานอยู่ประมาณ 12.4 ล้านคน อยู่ในภาคการเกษตรประมาณ 60% หรือ 6-7 ล้านคน ซึ่ง GDP ของอีสานโต 1.8 ล้านล้านบาท เทียบได้เป็น 10% ของ GDP ในประเทศ

ดังนั้นมีโอกาสมากมายที่จะทำให้เติบโตเป็น 20% ถ้าอีสานทั้ง 20 จังหวัดร่วมมือกัน และจะทำอย่างไรที่จะสามารถดึงคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาอยู่ในภาคการเกษตรให้มากขึ้น เพื่อสานต่อเกษตรกรคนรุ่นเก่า

ดังนั้นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องของการสร้างคน ทำอย่างไรให้ 8 ปีข้างหน้า ระบบการศึกษาที่จะตอบสนองระบบของเราในปี 2030 ได้ดีขึ้น นอกจากนี้เรื่องน้ำ ระบบบริหารจัดการน้ำจากส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ที่ต้องบูรณาการและมองเป้าหมายร่วมกัน ระบบบริหารขนาดใหญ่โดยเขื่อน หรือระบบบริหารขนาดเล็กโดยแก้มลิง ต้องดูภาพรวมทั้งหมดว่าจะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับภาคการเกษตรได้อย่างไร และยังมีสุดยอดนวัตกรรมและการท่องเที่ยว อีกทั้ง ยังมีของดีของอีสานมีมากมาย

รวมถึง Multimodal Transport & Logistic Hub  ที่มีทั้งสะพานเชื่อมสปป.ลาว สนามบิน 9 แห่งใน 20 จังหวัด และ Local Train สายใหญ่ ๆ อย่างน้อย 2 สาย รวมถึงรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ซึ่งจะเป็นตัวช่วยพัฒนาการขนส่งสินค้า และขนส่งผู้โดยสาร เรียกได้ว่าเป็น International Train และกำลังจะผ่านขอนแก่นเร็ว ๆ นี้

ทั้งนี้เราได้วางโครงการต่าง ๆ เอาไว้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับอีสานอย่างยั่งยืนได้จริง ภายใต้ยุทธศาสตร์ BCG คือ

  1. BCG ที่มาจาก Bio ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ โดยใช้ทรัพยากรชีวิภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ Circular economy ใช้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อรักษาคุณค่าของทรัพยากร โดยลดการใช้ หมุนเวียนหรือนำกลับมาใช้ใหม่ และ Green ระบบเศรษฐกิจสีเขียว พัฒนาความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยมีกรอบแนวคิดที่ลึกลงไปอีกชั้น คือ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพให้มีประสิทธิภาพสูงสุด, สร้างคุณค่าเพิ่ม และ พึ่งพาตนเอง
  2. Cross-Border Trade & Special Economic Zones โดยให้ขอนแก่นเป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Northeastern Economic Corridor : NeEC-Bioeconomy โดยจัดสรรเรื่องสิทธิประโยชน์ พัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ วิจัยและพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ พัฒนาแรงงาน รวมถึงสนับสนุนผู้ประกอบการ
  3. เนรมิตให้อีสานเป็น Digital Valley
  4. นำทั้ง 3 สิ่งมารวมกัน สร้าง BCG Hub ของอีสาน โดยทุกอย่างมีความสัมพันธ์กัน ก่อเกิด ISAN 2030 ซึ่งทั้งหมดนี้ทุกภาคส่วนต้องช่วยกับขับเคลื่อนไปด้วยกัน”

ทางด้าน คุณกวิน ว่องกุศลกิจ กรรมการ ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ (KKIC) กล่าวว่า “แนวคิด Collaboration ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ เป็นแนวคิดในปีแรก ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับสังคม โดยนำโมเดลเศรษฐกิจ BCG : Bio, Circular economy และ Green economy มาเป็นรากฐานที่แข็งแกร่ง เพื่อสร้างชุมชน สร้างกลยุทธ์ โครงสร้างพื้นฐาน และจุดประกายนวัตกรรม ซึ่งขอนแก่นถือเป็นถือเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นประตูสู่ภาคอีสาน

โดยมีศักยภาพและมีความร่ำรวยทางวัฒนธรรม รวมถึงมีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล และมีความได้เปรียบทางเชิงยุทธศาสตร์การลงทุน โดยได้การรับรองว่าเป็นเมือง MICE และ Smart City สามารถเชื่อมโยงประชากร 1 ใน 3 ของไทยเข้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับงาน Isan BCG Expo 2022 และ Isan BCG Forum 2022 นับเป็นจุดเริ่มต้นอันยิ่งใหญ่ของโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเราจัดขึ้นเพื่อให้ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน CLMVT ได้มีโอกาสประสานความคิด โดย Isan BCG Expo มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงความรู้และความคิดเข้าด้วยกัน ในขณะที่ Isan BCG Forum เน้นการถกประเด็นโดยผู้นำจากทุกภาคส่วน

เพื่อรับมือกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม การจัดงานครั้งนี้ ไม่เพียงการจุดประกายไอเดียความคิดต่อยอดการทำธุรกิจ แต่ยังทำให้เกิดโอกาสการทำ Business Matching จากหลากหลายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความยั่งยืนและเติบโตอย่างก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจให้กับขอนแก่น และภาคอีสาน และเตรียมพร้อมที่จะก้าวเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในปี 2030”

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ได้ที่ : [email protected] หรือ [email protected]