สำหรับเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม เด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น ในช่วงวัย 3-6 ขวบ ซึ่งมักทำให้ผู้ปกครองกังวลว่าการเข้าเรียนร่วมกับเพื่อน ๆ จะถูกรังแก หรือถูกครูดุ อีกทั้งอาจแยกตัวไม่เข้ากิจกรรม จนทำให้การเรียนในโรงเรียนอนุบาลปกติไม่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพิ่มเติม หากผู้ปกครองสงสัยหรือกังวลใจว่าเจ้าตัวเล็กจะมีปัญหาพฤติกรรมหรือพัฒนาการที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าเรียน ควรพาไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจเช็กอย่างละเอียด
ปัจจุบันเจ้าตัวเล็กมีปัญหาด้านพัฒนาการและพฤติกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กที่มีภาวะซน สมาธิสั้นและกลุ่มอาการ ออทิสติก รวมถึงพัฒนาการล่าช้าในด้านต่าง ๆ จากข้อมูลในประเทศไทยระบุว่า พบกลุ่มอาการออทิสติกที่อายุไม่เกิน 5 ปีในสัดส่วน 1 คนต่อเด็ก 161 คน เด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการควรได้รับการกระตุ้นให้มีพัฒนาการสมวัยภายใน 5 ขวบปีแรก เพราะเป็นช่วงที่สมองมีอัตราการเติบโตมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นการเตรียมทักษะที่จำเป็นขั้นต้นเพื่อเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา ซึ่งจัดเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานและมีการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
วิธีการรักษาเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ
เด็กในวัย 5 ขวบปีแรก ทำได้โดยการฝึกกระตุ้นพัฒนาการและปรับพฤติกรรมโดยผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน เช่น เด็กกลุ่มอาการออทิสติกจะได้รับการทำจิตวิทยาสังคมบำบัด (Psychosocial Therapy) เพื่อปรับอาการที่เป็นสาเหตุหลัก โดยจากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า การฝึกกระตุ้นพัฒนาการและปรับพฤติกรรมควรทำอย่างเข้มข้นและสม่ำเสมอเป็นระยะเวลายาวนานจึงจะสามารถพัฒนาทักษะแต่ละด้านของเด็กได้
นอกจากนี้ยังพบประโยชน์ของการเล่นกลางแจ้งในเด็กกลุ่มอาการออทิสติก โดยพบว่าช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ร่างกายได้รับวิตามินดีจากแสงอาทิตย์ ช่วยเพิ่มกระบวนการความคิดและพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม อีกทั้งเพิ่มทักษะการรับรู้ของร่างกายและเพิ่มสมาธิ ทำให้เด็กกลุ่มอาการออทิสติกรับรู้ได้ว่าตนมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
Hospital Kindergarten Group คืออะไร
“Hospital Kindergarten Group” โปรแกรมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ โดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มนี้มีเป้าหมายให้เด็กปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเอง ตลอดจนทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ทั้งนี้เพื่อคืนเด็กกลับสู่ภาวะปกติตามธรรมชาติได้มากที่สุด และสามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนปกติได้ในที่สุด
โดยคลินิกพัฒนาการเด็ก ต้องมีความพร้อมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ภาวะสมาธิสั้น กลุ่มอาการออทิสติก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ ทักษะการช่วยเหลือตัวเอง ทักษะทางสังคม การจัดการกับปัญหาอารมณ์ ทั้งยังช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจตัวตนของเด็กและวิธีการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ลดความเครียดของผู้ปกครองในการดูแลเด็กพิเศษที่บ้าน และสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองในการส่งต่อเด็กเข้าสู่การเรียนร่วมในโรงเรียน
โดยการจัดการเรียนรู้เป็นกลุ่ม ดูแลเด็กในวัย 3-6 ขวบที่มีปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม ออทิสติก สมาธิสั้น กลุ่มละ 5 คน ต่อคุณครู 2 คน ในกรณีที่มีข้อจำกัดในด้านอารมณ์ กุมารแพทย์และทีมจะพิจารณาให้การดูแลเป็นพิเศษแบบตัวต่อตัว ซึ่งลักษณะกิจกรรมประกอบไปด้วย
- Outdoor Activity กิจกรรมนอกห้องเรียนที่เปิดกว้างความคิดของเด็ก ๆ เพื่อให้สัมผัสถึงความสุขในการใช้ชีวิตและเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย
- Individual Training กิจกรรมฝึกทักษะการสื่อสาร การเล่น และกิจกรรมบำบัดแบบตัวต่อตัว เพื่อเพิ่มทักษะที่จำเป็นให้กับเด็กแต่ละคน โดยผู้ชำนาญการเฉพาะทางในแต่ละด้าน
- Special Skill Training กิจกรรมศิลปะ ดนตรี ทำอาหาร และฝึกการผ่อนคลาย (Art/ Music/ Cooking/ Relaxation Therapy) ช่วยให้เด็กค้นพบวิธีผ่อนคลายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการจัดการอารมณ์ที่หลากหลายของตนเอง
- ADL (Activity of Daily Living) Training กิจกรรมกลุ่มที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็ก ๆ อยากช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น โดยมีครูผู้ชำนาญการ คอยให้การสนับสนุนเพื่อช่วยให้เด็กแต่งตัว เข้าห้องน้ำ บอกความต้องการ และกินข้าวได้ด้วยตนเอง
- Social Skill Training กิจกรรม Morning Talk ตอนเช้าและกิจกรรมกลุ่มตลอดทั้งวันกับผู้ชำนาญการปรับพฤติกรรม ช่วยให้เด็ก ๆ ซึมซับทักษะการรอคอย การแบ่งปัน การเคารพกติกา การเห็นอกเห็นใจกัน การสื่อสาร และการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป
- Pre – Academic Skill Training กิจกรรม Early Childhood Education ที่เลือกให้เหมาะกับเด็กแต่ละคน ช่วยให้เด็ก ๆ พัฒนาทักษะการอ่านและการคำนวณเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาชั้นปฐมวัย
หลังจบโปรแกรมการรักษาต้องพาลูกน้อยพบแพทย์เพื่อเข้ารับการประเมินพัฒนาการและวางแผนการรักษาอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสามารถควบคุมตนเองและใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถดึงศักยภาพที่เจ้าตัวเล็กมีออกมาต่อยอดเพื่อให้เด็กเติบโตอย่างสมบูรณ์ในอนาคต
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
สอบถามข้อมู
โทร. 02 -755-1212 หรือแอดไลน์ @bangkokhospital